หน่วยที่ 6 กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์​


พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์



1. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์        
         สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคน 2541 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ และ สนับสนุนส่งเสริมการค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยการให้เน็คเทค (NECTEC) ในฐานะเลขา คณะกรรมการร่างกฎหมาย ได้จัดทายกร่างกฎหมายขึ้นมา 

         กฎหมายสาหรับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสิ่งที่สาคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อคุ้มครอง ผู้บริโภคป้องกันการฉ้อโกงที่อาจจะเกิดขึ้นทาให้การธุรกิจซื้อขายบนอินเตอร์เน็ตเติบโต ไปพร้อมๆกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบัน การทุจริตบน อินเตอร์เน็ตนั้นเกิดจากการกระทาความผิดในหลายรูปแบบ การบัญญัติกฎหมายเพื่อให้ ความคุ้มครองการทุจริตจึงไม่ได้ถูกกาหนดขึ้นมาเป็นการเฉพาะ ต้องนาประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา หรือพระราชบัญญัติอื่นที่มีลักษณะ ใกล้เคียง ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับแล้วแต่กรณี (วุฒิพงศ์ เถาวัฒนะ, 2544)  ซึ่งประกอบด้วยกฎหมาย 6 ฉบับ         


         1.1. กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Data Interchange Law- EDI)

         1.2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์( Electronic Signatures Law)
         1.3. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Funds Transfer Law)
         1.4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล( Data Protection Law)
         1.5. กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ( Computer Crime Law)
         1.6. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียม



กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Data Interchange Law- EDI)        
        เพื่อรับรองสถานะ ทางกฎหมาย ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่างๆ โดยเฉพาะในวงการค้าการ ขนส่งระหว่างประเทศทำให้สามารถทำธุรกิจได้อย่างไม่มีข้อจำกัดทั้งด้านเวลา และสถานที่ โดยการใช้มาตรฐานที่ยอมรับโดยทั่วไปในรูปแบบ (format) และโครงสร้างข้อมูลที่ส่งถึงกัน



กฏหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Signatures Law)       
        เพื่อรับรองการใช้ลายมือ ชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใดๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา       กำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการเกี่ยวกับ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์          
          ทางกฎหมาย คือการทำเครื่องหมายบนข้อมูลดิจิตอลโดยการใช้รหัส  ส่วนตัวโดยมีบุคคลภายนอกที่ทำหน้าที่รับรองว่าเป็นลายเซ็นของผู้เซ็นจริง         
           ทางเทคนิค  คือ ค่าทางคณิตศาสตร์ ที่ประทับบนข้อมูล โดยใช้วิธีทางคณิตศาสตร์เชื่อมโยง Private key and Public key
            กฎหมายนี้ถือว่าการทำสัญญานั้นได้ทำตามหลักเกณฑ์ข้างต้นของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วเป็นผลทำให้สัญญานั้นมีผลสมบูรณ์หรือใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กำหนด สรุปเนื้อหาโดยย่อ  ดังนี้                   
            (1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อและสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน

กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)                   
          เพื่อกำหนด กลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงิน ระหว่าง สถาบันการเงินและระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์


กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ( Data Protection Law)         
          เพื่อก่อให้เกิด การรับรอง สิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผย หรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ ในระยะ เวลาอันรวดเร็ว โดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ ในทาง มิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล 

          ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่าง สิทธิขั้นพื้นฐานใน ความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ  


กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ( Computer Crime Law)            
        เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อ ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย            
        ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายฉบับใดกำหนดว่าเป็นความผิด

        ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกัน สิทธิ เสรีภาพและการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม
ความหมายของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 
        มี 2 ประการ ได้แก่            
       1. การกระทำใด  ก็ตาม ที่เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับความเสียหาย และทำให้ผู้กระทำได้รับผลตอบแทน           
       2. การกระทำผิดกฎหมายใด  ซึ่งจะต้องใช้ความรู้เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์    มาประกอบการกระผิด และต้องใช้ผู้มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ ในการสืบสวน ติดตาม รวบรวมหลักฐานเพื่อการดำเนินคดี จับกุม
ตัวอย่างคดีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
        –   การโจรกรรมเงินในบัญชีลูกค้าของธนาคาร            
        –   การโจรกรรมความลับของบริษัทต่างๆ ที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์            
        –   การปล่อยไวรัสเข้าไปในคอมพิวเตอร์            
        –   การใช้คอมพิวเตอร์ในการปลอมแปลงเอกสารต่างๆ รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการก่อวินาศกรรม           
        –   การขโมยโดเมนเนม (Domain Name)            
        –   การตัดต่อภาพ หมิ่นประมาท            

         กฎหมายการพัฒนาและการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ (Universal Access Law) รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบันได้วางหลักการที่ สาคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์ต่อ การพัฒนาสังคมไว้ในมาตรา 78 (3) ซึ่งบัญญัติว่า “รัฐจะต้องกระจายอานาจให้ ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และ ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ในท้องถิ่นให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความ พร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคานึงถึงเจตนารมณ์ ของประชาชนในจังหวัดนั้น
         -   กฎหมายธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กฎหมายนี้ต้องสอดคล้องกับกฎหมาย ระหว่างประเทศและเหมาะสมกับสภาพของประเทศไทยทั้งนี้กฎหมายดังกล่าว รวมถึงกฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนกิ ส์ (Electronic Signature Law) กฎหมาย ธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Transaction Law) กฎหมายอาญาอันเนื่องมาจากอาชญากรรมพาณิชย์อิเล้กก็ทรอนิกส์ (Electronic Commerce Criminal Code)         
        -   กฎหมายคุ้มครองข้อมูล เพื่อคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวจากการนาข้อมลู ของบุคคลไปใช้ในทางที่มิชอบ 
        -   กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Related Crime) อันมี วัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสังคม จากความผิดที่เกี่ยวกับข้อมลู ข่าวสาร อันถือเป็น ทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง (IntangibleObject) แต่ทว่ามีค่ายิ่งในยุคแหง่เทคโนโลยี สารสนเทศปัญหาพื้นฐานของกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั้น

2. หลักการสำคัญของ UNCITRAL Model Law on Electronic Commerce (1996) มีอะไรบ้าง
          คือ กฎหมายเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศของไทย มีสาระสำคัญ กฎหมายแม่แบบว่าด้วยการพาณิชย์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Model Law on Electronic Commerce)ผ่านการยกร่างและพิจารณาร่วมกันของบรรดาประเทศสมาชิกของ สหประชาชาติ แล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2539 Model Law on Electronic Commerce นี้เป็นกฎหมายแม่แบบที่มุ่งขจัดข้อขัดข้องทางกฎหมายและสร้างความมั่นใจในการพัฒนาการพาณิชย์ทางอิเล็กทรอนิกส์และเป็นตัวอย่างให้กับประเทศต่างๆนำไปออกหรือปรับปรุงกฎหมายของตนให้สอดคล้องกับหลักการและบทบัญญัติของกฎหมายแม่แบบ กฎหมายแม่แบบนี้มีเนื้อหาสาระในการตั้งกฎเกณฑ์ยอมรับสถานภาพของสัญญาที่เกิดขึ้นโดยผ่านสื่อ ทางอิเล็กทรอนิกส์ การยอมรับข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีค่าทางกฎหมายเทียบเท่ากับเอกสารลายลักษณ์อักษร (Writing) หรือถือเป็นเอกสารต้นฉบับ (Original) และการยอมรับให้ลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature) ตลอดจนให้มีการรับฟังข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณา คดีของศาลได้



3. สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีอะไรบ้าง  
       เหตุผลในการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ. 2544” คือเพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการทำธุรกรรมหรือสัญญาให้มีผลเช่นเดียวกับการทำสัญญาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายปัจจุบัน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) กำหนดไว้ ได้แก่  การทำเป็นหนังสือ หลักฐานเป็นหนังสือ การลงลายมือชื่อกล่าวคือถ้ามีการทำสัญญาระหว่างบุคคลที่ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามความหมายของกฎหมายแล้ว             หมวด 1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  (มาตรา 7 - 25)
           การรับรองรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการรับ การส่งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้เป็นหนังสือหรือหลักฐานเป็นหนังสือ (มาตรา 8)การยอมรับผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์) ให้ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อตามกฎหมายหากใช้วิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (มาตรา 9)การนำเสนอและเก็บรักษาข้อความที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อย่างต้นฉบับเอกสาร(มาตรา 10, 12)
              การรับ การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา15-24)ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำตามวิธีการที่น่าเชื่อถือ (มาตรา 25)
               หมวด 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์(มาตรา 26 - 31)
               หมวด 3 ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(มาตรา 32 - มาตรา 34)
               หมวด 4 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ(มาตรา 35)
               หมวด 5 คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 36 - 43)
               หมวด 6 บทกำหนดโทษ (มาตรา 44 - 46)



4. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์คืออะไรสามารถใช้แทนลายมือชื่อในสัญญาได้หรือไม่ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
          คำว่า “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” ตามพระราชบัญญัติ นี้หมายถึง“ อักษร อักขระ ตัวเลขเสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นและเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ” (มาตรา 4)
จากความหมายข้างต้นสามารถสรุปลักษณะของ “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายฉบับนี้ ได้ดังนี้
          1. เป็นอักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดในรูปของอิเล็กทรอนิกส์มีความหมายต่างจากลายมือชื่อตามกฎหมายเดิมคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9
          2. วัตถุประสงค์หรือหน้าที่ของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์คือเพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นและเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นแม้ว่าจะมีการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ข้างต้นก็ตาม แต่ลายมือชื่อฯ
ที่จะถือเป็นลายมือชื่อที่มีผลทางกฎหมาย จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ (มาตรา 9) คือ (2) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี ”ลักษณะของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือได้มีมาตราที่เกี่ยวข้องคือมาตรา 25, มาตรา 26 และมาตรา 29คู่กรณีที่เกี่ยวข้องยังสามารถใช้วิธีการใดๆที่เข้าลักษณะและเงื่อนไขของกฎหมายได้ แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดลักษณะของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือได้แต่ก็ไม่ควรจำกัดการใช้เทคโนโลยีใดโดยเฉพาะตามหลักการเรื่อง ‘Technology Neutrality’ คือการไม่ถือเอาเทคโนโลยีหนึ่งเทคโนโลยีใดเป็นเกณฑ์พิจารณาความน่าเชื่อถือว่าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งบทบัญญัติมาตรา 26 ก็หาได้ระบุจำกัดวิธีการหนึ่งวิธีการใดไว้ไม่



5. การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งเป็นกี่ประเภท
           การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัตินี้          
           1. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่          
           2.  การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องขึ้นทะเบียน          
           3. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องได้รับใบอนุญาต



6. ผู้ให้บริการออกใบรับรอง (Certification Authority – CA) สำหรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่อย่างไรตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544       
          ผู้ที่ต้องการประกอบธุรกิจการให้บริการออกใบรับรองสำหรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ต้องดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาข้างต้น และมีหน้าที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติไว้ใน มาตรา 28 ดังนี้          
         หน้าที่ปฏิบัติตามแนวนโยบายและแนวปฏิบัติของผู้ให้บริการที่แสดงไว้ (เนื่องจากผู้ให้บริการออกใบรับรองฯจะต้องมีการออกแนวนโยบายและแนวปฏิบัติว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตัวอย่างเช่น ‘Certification Practices Statement (CPS) หรือเอกสารใดๆทำนองเดียวกัน)หน้าที่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเกี่ยวกับความถูกต้องและความสมบูรณ์ของใบรับรองอายุใบรับรอง เป็นต้น          หน้าที่กำหนดวิธีการให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบเนื้อหาหรือสาระสำคัญของใบรับรอง
เกี่ยวกับการระบุผู้ให้บริการออกใบรับรองเจ้าของลายมือชื่อที่ระบุไว้ในใบรับรองและข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ได้ในขณะหรือก่อนที่มีการออกใบรับรองหน้าที่กำหนดวิธีการให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจดูใบรับรองได้เพื่อตรวจสอบวิธีการที่ใช้ในการระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อวัตถุประสงค์และคุณค่าที่มีการนำข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับรอง,ขอบเขตความรับผิดของผู้ให้บริการออกใบรับรองวิธีการให้เจ้าของลายมือชื่อส่งคำบอกกล่าวเมื่อมีเหตุตามบางประการตามมาตรา 27 (2)บริการเกี่ยวกับการเพิกถอนใบรับรอง เป็นต้น        
         หน้าที่จัดให้มีบริการที่เจ้าของลายมือชื่อสามารถติดต่อกับผู้ให้บริการออกใบรับรองในกรณี
ตามมาตรา 27(2) และกรณีการขอเพิกถอนใบรับรองที่ทันการหน้าที่ใช้ระบบ
วิธีการและบุคลากรที่เชื่อถือได้ในการให้บริการ ฯลฯ



7. พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีบทบัญญัติที่ยอมรับผลทางกฎหมายเรื่องการยื่นคำขอ การขออนุญาต การจดทะเบียน หรือการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมายของประชาชน ที่ต้องการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือไม่
        แต่เดิมนั้นการยื่นคำขอการอนุญาต การจดทะเบียน หรือการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมาย
ผู้ร้องขอจะต้องเดินทางมาติดต่อกับหน่วยงานของรัฐด้วยตนเองหรือบางกรณีอาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยมีเอกสารของผู้มอบอำนาจพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้การรับรองให้หน่วยงานของรัฐสามารถรับคำขอ การอนุญาตการจดทะเบียน หรือการดำเนินการใดๆ ของประชาชนทั่วไปหรือผู้ประกอบธุรกิจโดยผู้ยื่นคำร้องหรือคำขอผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์กล่าวอีกนัยหนึ่งคือยื่นคำขอในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผลที่สำคัญคือการกระทำข้างต้นนี้ถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่นเดียวกับการกระทำในรูปแบบเดิมกฎหมายยังระบุให้การออกคำสั่งทางปกครอง การประกาศ หรือการดำเนินการใดๆโดยหน่วยงานของรัฐ สามารถกระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ กระนั้นก็ดีพระราชบัญญัตินี้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจึงจะถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมาย



8. ถ้าซื้อสินค้าหรือบริการทางอินเทอร์เน็ต แต่ไม่ได้รับสินค้าหรือบริการ หรือสินค้าไม่ ถูกต้องหรือชำรุดเสียหาย ผู้ซื้อควรจะทำอย่างไร      
          ปัญหาที่ผู้บริโภคมักประสบจากการสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตอาจมีลักษณะเช่นเดียวกันปัญหาที่เกิดขึ้นในการซื้อขายตามปกติ ได้แก่             
          1. ผู้ซื้อไม่ได้รับสินค้าหรือให้บริการตามที่ตกลงกัน                
          2. สินค้าที่ได้รับไม่ตรงกับรายการที่สั่งซื้อ                
          3. สินค้าที่สั่งซื้อชำรุดเสียหายไม่สามารถใช้การได้
ข้อพึงปฏิบัติ
          การแก้ไขหากผู้ซื้อสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตแต่ไม่ได้รับสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศหรือสินค้าที่ได้รับไม่ตรงกับรายการที่สั่งซื้อ หรือสินค้าที่สั่งซื้อชำรุดเสียหายไม่สามารถใช้การได้แล้วแต่กรณีแต่เดิมนั้นผู้บริโภคที่ใช้บัตรเครดิตอาจไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ต่อมาจึงมีการออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2542” (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543)      ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจของ มาตรา 35 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522” เป็นผลทำให้ผู้ถือบัตรเครดิตซึ่งรวมถึงบัตรเดบิตด้วยได้รับความคุ้มครองเมื่อชำระค่าสินค้าค่าบริการทางอินเทอร์เน็ต กล่าวคือ ผู้ซื้อมีสิทธิขอยกเลิกการซื้อสินค้าหรือรับบริการนั้นภายในระยะเวลา 45 วัน นับแต่วันสั่งซื้อ หรือภายใน 30วัน นับแต่วันถึงกำหนดส่งมอบสินค้าหรือบริการเมื่อมีกำหนดเวลาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่ผู้บริโภคต้องพิสูจน์ว่าไม่ได้รับสินค้าจริง หรือได้รับไม่ตรงกำหนดเวลาหรือได้รับไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง หรือชำรุดบกพร่องแล้วแต่กรณี 



9. ผู้ถือบัตรเครดิตต้องรับผิดชอบหรือไม่ ถ้ามีผู้อื่นนำบัตรไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต และมีข้อพึงปฏิบัติเพื่อป้องกันอย่างไร
ต่อไปนี้เป็น ข้อพึงปฏิบัติของผู้บริโภคเพื่อป้องกันและวิธีแก้ไขปัญหา
ข้อพึงปฏิบัติ
        ผู้ซื้อควรเลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขายที่น่าเชื่อถือคือ มีรายละเอียดชื่อ ที่อยู่ของผู้ขายสินค้า หรือวิธีที่สามารถติดต่อได้ หากไม่มั่นใจผู้ขายก็ควรหลีกเลี่ยงไปใช้บริการของร้านค้าที่เป็นที่รู้จักการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตทางอินเทอร์เน็ตผู้ถือบัตรไม่ควรให้ข้อมูลบัตรเครดิต เช่น หมายเลขบัตร วัน เดือน ปีที่บัตรหมดอายุหรือข้อมูลส่วนบุคคลแก่ผู้ขายที่ไม่น่าไว้วางใจหรือไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยขณะชำระเงิน (สังเกตจาก https:// หรือเครื่องหมายแม่กุญแจที่ล็อกอยู่)สอบถามหรือตรวจสอบสัญญาหรือเงื่อนไขบัตรชนิดต่างๆกับธนาคารหรือบริษัทที่ออกบัตรเครดิต บัตรเดบิตหรือบัตรที่สามารถชำระเงินทางอินเทอร์เน็ตได้ว่า ผู้ถือบัตรจะได้รับความคุ้มครองในกรณีใดบ้างและมีข้อควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อพบรายการผิดปกติใดๆ. หรือเชื่อว่าตนอาจถูกหลอกหรือมีผู้ใช้บัตรเครดิตโดยไม่ได้รับอนุญาตควรรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทหรือธนาคารที่ออกบัตรทราบและทำหนังสือปฏิเสธการใช้บัตรเพื่อระงับรายการนั้นไว้ชั่วคราว ถ้าผลการตรวจสอบพบว่า ผู้ถือบัตรไม่ได้ใช้บัตรจริงธนาคารผู้ออกบัตรจะไม่เรียกเก็บเงิน หรือหากได้ชำระเงินไปแล้วก็จะคืนเงินให้แก่ผู้ถือบัตร จนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อมูลของฝ่ายผู้ออกบัตรแล้วทั้งนี้ ผู้บริโภคที่เป็นผู้บริโภคจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตามข้อตกลงระหว่างผู้ออกบัตรและผู้ถือบัตรจะเห็นได้ว่าผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองจากการใช้บัตรเครดิตของบุคคลอื่นทางอินเทอร์เน็ตซึ่งตนไม่ได้ให้ความยินยอม เนื่องจากธนาคารผู้ออกบัตรจะต้องปฏิบัติตาม “ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาพ.ศ. 2542” ที่ประกาศให้การประกอบธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาผู้ออกบัตรจะต้องใช้ข้อสัญญาที่มีเนื้อความตามประกาศ

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550


         การกำหนดฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับผู้ให้บริการและผู้ใช้คอมพิวเตอร์ พระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่อง การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ได้กำหนดฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการ กระทำโดยมิชอบไว้รวม 12 มาตรา ดังนี้ 

        –  มาตราผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันและการเข้าถึงโดยเฉพาะมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวังโทษจาคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจาทั้งปรับ 
        –  มาตรา 6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการการป้องกันและการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้น เป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 
       –  มาตราผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันและการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการ นั้นมิได้มีไว้สาหรับตนต้องระวังโทษจาคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจาทั้งปรับ การกระทา ซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 7 อาจต้องมีการกระทำความผิดตามมาตรา 5 เสียก่อน 
         –  มาตรา 8 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยไม่ชอบโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลของ คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์และขอ้มลูคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์ สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ 
        –  มาตรา 9 ผู้ใดทำเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น โดยมิชอบต้องระวังโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำ ทั้งปรับ 
        –  มาตรา 10 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อนื่ ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับเหตุผล การกำหนดฐานความผิดคำนึงถึงการก่อให้เกิดการปฏิเสธการให้บริการ (Denial of Service) เป็นสาคัญ 
       –  มาตรา 11 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลง แหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้อง ระวังโทษปรับไม่เกิน100,000 บาท 
        –  มาตรา 12 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10
            (1) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่จะว่าเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวังโทษจาคุกไม่เกิน 10 ปีและปรับไม่เกิน 200,000 บาท 
            (2) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อข้อมูล คอมพิวเตอร์หรือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศความปลอดภัยสาธารณะความมั่นคงในเศรษฐกิจของประเทศหรือการบริการสาธารณะหรือ การกระทำต่อข้อมลู คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปีและปรับตั้งแต่ 60,000-300,000 บาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (2) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึง แก่ความตาย ต้องระวังโทษจำคุก ตั้งแต่ 10 ปีถึง 20 ปี เหตุผล กำหนดโทษหนักขึ้น ตามความเสียหายที่เกิดขึ้น      –   มาตรา 13 ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 หรือมาตรา 11 ต้องระวังโทษจาคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เหตุผล จำกัดเฉพาะกรณีโปรแกรมคอมพิวเตอร์เท่านั้น ซึ่งแต่เดิม รวมถึงฮาร์ดแวร์ (อุปกรณ์) ด้วย 
       –  มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไมม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำ ทั้งปรับ 
                 (1)  นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมลูคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว้ทั้งหมดหรือบางส่วนหรือขอ้มูลคอมพวิเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกดิความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน 
                 (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมลูคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน                 
                 (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งป็นข้อมลูคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจกัรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา 
                 (4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมลูคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจจะเข้าถึงได้                
                 (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมลูคอมพิวเตอร์โดยรออยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพวิเตอร์ตาม(1)(2)(3)หรือ(4)



"ผู้ให้บริการ" หมายความว่า 
   (1) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอรเ์น็ตหรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยบริการอื่นโดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเองหรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
   (2) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมลูคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น    
      
          –  มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทาความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวังโทษเช่นเดียวกับ ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14 เหตุผล ผู้ให้บริการในที่นี้มุ่งประสงค์ถึงเจ้าของเว็บไซต์ซึ่งมีการพิจารณาว่าควรต้องมีหน้าที่ลบเนื้อหาอันไม่เหมาะสมด้วย            
         –  มาตรา 16 ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวัง โทษจาคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำ ทั้งปรับถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิดความผิด ตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และถือว่า เป็นผู้เสียหาย



        คำแนะนำ วิธีปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จาก พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 สามารถสรุปเป็นคำแนะนำ และวิธีปฏิบัติ ให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติสำหรับผู้ใช้บริการได้เป็นข้อๆ ดังนี้  


        –  ไม่ตัดต่อเผยแพร่ภาพตัดต่อของผู้อื่นที่ทำเขาเสียหายหรือเสียชื่อเสียง        
        –  ก่อนดาวโหลดโปรแกรมหรือข้อมูลจากเว็บไซต์ (Website) ควรอ่านเงื่อนไขให้ระเอียดเสียก่อน 

        –  ไม่ฟอร์เวิร์ดอีเมล (FoewardE-mail) หรือคลิปภาพลามกอนาจารหรือข้อความไม่เหมาะสม 
        –  ไม่เผยแพร่สแปมหรือไวรัสคอมพิวเตอร์     
        –  ไม่เปิดเผยมาตรการระบบคอมพิวเตอร์ให้ผู้อื่นล่วงรู้     
        –  ไม่ขโมยข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น       
        –  ระวังการแชท (Chat) กับคนแปลกหน้า อย่าหลงเชื่อเขาง่ายๆ 
        –  อย่าลืมลงโปรแกรมป้องกันไวรัสและสปายแวร์     
        –  ไม่แฮก (Hack) ระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ของคนอื่น 
        –  ไม่ควรบันทึกพาสเวิร์ด (Password) ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์และควรเปลี่ยนพาสเวิร์ดทุกๆ 3 เดือน 
        –  ไม่แอบดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น       
        –  ไม่นำเข้า ข้อมูลหรือภาพลามกอนาจารเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ 

ประเภทของการกระทำความผิดบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต 


       ปัจจุบันอาจแบ่งเป็นประเภทของการกระทาความผิดบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Cyber Crime) แบ่งได้เป็น 9 ประเภทตามความเห็นของ Dr. Peter Grabosky ผู้อานวยการด้านการวิจัยของ สถาบันอาชญาวิทยาแห่งประเทศออสเตรเลีย ดังนี้ คือ 

          – 1) การสกัด หรือดักข้อมูลมาใช้ประโยชน์โดยมิชอบ (illegal interception of information) เช่น การเจาะผ่านอินเตอร์เน็ตเพื่อขโมยข้อมูลความลับเกี่ยวกับรหัสหมายเลขบัตรเครดิตหรือเลขหมายอื่น เพื่อประโยชน์ในการก่ออาชญากรรมต่อไป หรือการขโมยความลับทางการค้า ด้วยการดักฟังข้อมูล
         – 2) การฉ้อโกงการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Crime) คือ การเข้าไปใน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของธนาคาร เปลี่ยนแปลง ดัดแปลงข้อมูลหรือป้อนข้อมูลทางด้านทรัพย์สินหรือ เงินจากบัญชีหนึ่งไปอีกบัญชีหนึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้นผ่านทางคอมพิวเตอร์อันมีผลกระทบอย่าง มากต่อระบบ ATM หรือระบบธนาคาร
         – 3) การลักลอบ หรือขโมยไปใช้บริการสาระสนเทศ (Theft of Information Service) หมายรวมถึง การขโมยข้อมูลจาก ISP (Internet Service Provider) หรือผู้มีเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ตรวมไปถึงขโมย ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ เช่น ข้อมูลข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์โทรศัพท์เพื่อแอบใช้บริการ เป็นต้น 
        – 4) การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (Telecommunication Privacy) เช่น การทำซ้า โปรแกรมคอมพวิเตอร์ละเมิดลิขสทิธิ์อนื่ๆปลอมแปลงรูปเสยีงหรือปลอมแปลงสื่อ ทางคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า มัลติมีเดีย (Multimedia)
        – 5) การเผยแพร่สิ่งผิดกฎหมาย เช่น ภาพลามก วิธีการทำระเบิด ทางอินเตอร์เนต็ (Pornography and other offensive content) กล่าวคือผู้กระทำผิดใช้ คอมพิวเตอร์และการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งผ่านเครือข่ายทั่วโลกเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร รวมถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม เช่น วิธีการก่ออาชญากรรม หรือ สูตรในการผลิตระเบดิ เป็นต้น 
        –6) การหลอกขายสินค้าหรือหลอกให้ลงทุนผ่านเครือข่ายอินเตอรเ์น็ต (TelemarketingFraud) ได้แก่กรณีที่อาชญากรจะใช้เครือข่ายอนิเตอร์เน็ตใน การประกาศโฆษณาโดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการจริงซึ่งภัยจากการกระทำ ในรูปแบบนี้พบมากในบริเวณกระดานข่าว (Bulletin Boards) ซึ่งสามารถทำเงินได้ดี และมีแนวโน้มที่จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอนาคต