หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต


ประโยชน์ของการใช้อินเตอร์เน็ต

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราหลายๆด้านทั้งการศึกษาพาณิชย์ธุรกรรมวรรณกรรมและอื่นๆดังนี้

ด้านธุรกิจและการพาณิชย์                                                                                          
       1. ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
       2. สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
       3. ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี(Freeware) เป็นต้น

ด้านการบันเทิง
    1.  การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Magazine o­nline รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าว  สารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆไป
    2.  สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
    3.  สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่ามาดูได้

ด้านสนับสนุนการศึกษา 
     
การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการติดต่อสื่อสาร เป็นการใช้อินเตอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างคณาจารย์และนักศึกษาสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการส่งการบ้าน นัดหมาย อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ รวมทั้งการแจกจ่ายที่อยู่ทางไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ หรือที่อยู่บนเวิลด์ไวด์เว็บ เนื่องจากมีความสะดวก คือใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น ผู้รับไม่จำเป็นต้องรอรับข้อมูลอยู่เหมือนการใช้โทรศัพท์ 
       นอกจากนี้ ยังมีบริการทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักการศึกษาอีกประเภท คือ LISTSERV ซึ่งเป็นบริการที่อนุญาตให้นักการศึกษาสามารถสมัครเป็นสมาชิก ของกลุ่มสนทนา(Discussion Group) ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน โดยผู้สนใจจะต้องส่งอีเมล์ไปยังที่อยู่ของกลุ่มสนทนา ซึ่งจะนำที่อยู่อีเมล์ของผู้สนใจไปใส่ไว้ใน ลิสต์รายชื่อสมาชิก (Mailing list) เมื่อมีผู้ส่งข้อความมายังกลุ่ม เครื่องคอมพิวเตอร์ ก็จะทำการคัดลอกและจัดส่งข้อมูลนี้ไปตามลิสต์รายชื่อสมาชิกที่มีอยู่ จะทำให้เรารับทราบข้อมูลที่ทันสมัยตลอดเวลา
        
           การเรียนการสอนเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต                                       
           ในประเทศไทยการเรียนการสอนเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นในลักษณะของการเปิดอบรมหลักสูตรระยะสั้น ให้แก่สมาชิกเครือข่าย หรือประชาชนผู้สนใจทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งได้จัดให้มีการเรียนการสอนเกี่ยว กับอินเตอร์เน็ต โดยจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาต่างๆ ให้แก่นักศึกษา ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเตรียมให้มีความพร้อมในการที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใน การค้นคว้าวิจัย หรือทำรายงาน ในรายวิชาต่าง ๆและที่สำคัญ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง
            นอกจากนี้ การจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตยังเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษา ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อ ในลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น จากการอภิปรายผ่านอีเมล์ การเสนอความคิดเห็นในกลุ่มสนทนา หรือการนำเสนอข้อมูลบนเว็บ เป็นต้น 

          ประโยชน์ของการใช้อินเตอร์เน็ตกับการศึกษา            
            1. การใช้เป็นระบบสื่อสารส่วนบุคคล บนอินเตอร์เน็ตมีอิเล็กทรอนิกส์เมล์หรือเรียกย่อๆ ว่า อีเมล์ (E-mail) เป็นระบบที่ทำให้การสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ละบุคคลจะมีตู้จดหมายเป็นของตัวเองสามารถส่งข้อความถึงกันผ่านในระบบนี้โดยส่งไปยังตู้จดหมายของกันและกันนอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ไปใช้ทางการศึกษาได้
            2. 
ระบบข่าวสารบนอินเตอร์เน็ต   มีลักษณะเหมือนกระดานข่าวที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทุกคนสามารถเปิดกระดานข่าวที่ตนเองสนใจหรือสามารถส่งข่าวสารผ่านกลุ่มข่าวบนกระดานนี้เพื่อโต้ตอบข่าวสารกันได้ 
            3. 
การใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกัน และติดต่อกับห้องสมุดทั่วโลกทำให้การค้นหาข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพหมายถึงสามารถค้นหาและได้มาซึ่งข้อมูลโดยใช้เวลาอันสั้นโดยเฉพาะบนอินเตอร์เน็ตจะมีคำหลัก (Index) ไว้ให้สำหรับการสืบค้นที่รวดเร็ว
            4. 
ฐานข้อมูลเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web) เป็นฐานข้อมูลแบบเอกสาร (Hypertext) และแบบมีรูปภาพ (Hypermedia) จนมาปัจจุบัน ฐานข้อมูลเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นจนเป็นแบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ซึ่งมีทั้งข้อความ รูปภาพวีดิโอทัศน์ และเสียงผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสืบค้นกันได้จากที่ต่างๆ ทั่วโลก
            5. 
การพูดคุยแบบโต้ตอบหรือคุยเป็นกลุ่ม บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกันและพูดคุยกันได้ด้วยเวลาจริง ผู้พูดสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนเครือข่าย
            6. 
การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันแบบ FTP (Files Transfer Protocol) คือสามารถที่จะโอนย้ายถ่ายเทข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมากๆ ได้ โดยส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งทำให้สะดวกต่อการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันโดยไม่ต้องเดินทางและข่าวสารถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
            7. 
การใช้ทรัพยากรที่ห่างไกลกัน ผู้เรียนอาจเรียนอยู่ที่บ้านและเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยได้ และยังสามารถขอใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ในต่างมหาวิทยาลัยได้

 บริการพื้นฐานบนอินเตอร์เน็ต    
        
1. World Wide Web (WWW) เครือข่ายใยแมงมุม เป็นการเข้าสู่ระบบข้อมูลอย่างข้อมูลในรูปของInteractive Multimedia คือ มีทั้งรูปภาพ ข้อความภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ยังใช้ระบบที่เรียกว่า hypertext กล่าวคือ จะมีคำสำคัญหรือรูปภาพในข้อมูลนั้นที่จะช่วยให้ท่าน เข้าสู่รายละเอียดที่ลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้น คำสำคัญดังกล่าวจะเป็นคำที่เป็นตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ เพียง เลือกกด ที่คำ ที่เป็นตัวหนาหรือขีดเส้นใต้นั้น สามารถเข้าสู่ข้อมูลเพิ่มเติมได้ (ข้อมูลเหล่านี้จะมีผู้สร้างขึ้นมาและเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ต่าง ๆ ทั่วโลก)       
         2. ไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ (Electronic Mail หรือ E-Mail) เป็นบริการหนึ่งบนอินเตอร์เน็ตที่คนนิยมใช้กันมากคือ ส่งจดหมายทางคอมพิวเตอร์ถึงผู้ที่มีบัญชี อินเตอร์เน็ตด้วยกันไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกล คนละซีกโลกจดหมายก็จะไปถึงสะดวกรวดเร็วและง่ายดาย โปรแกรมที่ใช้ ได่แก่ Hotmail YahooMail ThaiMail และยังมี  Mail ต่างๆ ที่ใช้บริการอย่างมากมายในปัจจุบัน ตามหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ              
        3. Search Engine  (บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต)  Search Engine เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือในการที่จะค้นหาเว็บไซต์ต่าง ๆ มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของตัวเองโดยอัตโนมัติ เช่น Google.com หรือAltavista.com ซึ่งเครื่องมือนี้ มีชื่อเรียกว่า Search Robot  จะทำหน้าที่คอยวิ่งเข้าไปอ่านข้อความจากหน้าเว็บไซต์ ของเว็บต่าง ๆ แล้วนำมาจัดลำดับคำค้นหา (Index) ที่มีในเว็บไซต์เหล่านั้น เก็บไว้ในฐานข้อมูลของตนเอง เมื่อเราเข้าไปใช้บริการ กับ Search Engine 
        4. Instant Message (บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต)  Instant Messaging ก็คือการสนทนาทางโทรศัพท์อย่างหนึ่งแต่เป็นในรูปของตัวอักษร พนักงานในบริษัททั้งขนาดเล็กและใหญ่ต่างใช้ IM เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร สำหรับคนอีกจำนวนมาก  IM  คือการสื่อสารสำรองเมื่ออีเมล์มีปัญหาหรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ        
        5. Telnet เป็นบริการที่ช่วยให้เราสามารถเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่นเสมือนหนึ่งไปนั่งใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของที่นั่น โปรแกรมที่ช่วยให้ท่านใช้บริการนี้ได้คือ โปรแกรมNCSA Telnet เมื่อเปิดโปรแกรมแล้วให้พิมพ์คำสั่ง Telnet ดังในรูปภาพข้างล่างเมื่อท่านใช้คำสั่ง Telnet แล้วให้พิมพ์ที่อยู๋ของแหล่งข้อมูลนั้น ท่านก็จะสามารถเข้าสู่ระบบข้อมูลนั้น ๆ ได้เสมือนท่านไปนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของเครื่อง ๆ นั้นเลยทีเดียว ระบบ Telnet
        6. FTP (File Transfer Protocol) คือ บริการที่ใช้ในการโอนย้าย file หรือข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกคอมพิวเตอร์หนึ่ง สามารถโอนย้ายข้อมูล เช่น รูปภาพ , ข้อความ , บทความ , คู่มือ และโปรแกรมต่าง ๆ
        7. Web board (บริการกระดานข่าวหรือ เวบบอร์ด) WebBoard คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน 
        8. อีเมล e-mail, email ย่อมาจาก จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ electronic mail คือวิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจดทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่ง) เป็นอย่างน้อย บริการอีเมลบนอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้เริ่มมีการจัดตั้งมาจากอาร์พาเน็ต (ARPANET) และมีการดัดแปลงโค้ดจนนำไปสู่มาตรฐานของการเข้ารหัสข้อความ RFC 733 อีเมลที่ส่งกันในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 นั้นมีความคล้ายคลึงกับอีเมลในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงจากอาร์พาเน็ตไปเป็นอินเทอร์เน็ตในคริสต์ทศวรรษ 1980 ทำให้เกิดรายละเอียดแบบสมัยใหม่ของการบริการ โดยส่งข้อมูลผ่านเกณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย (SMTP) ซึ่งได้เผยแพร่เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 10 RFC 821 เมื่อ พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) และเปลี่ยน RFC 733 ไปเป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 11 (RFC 288) การแนบไฟล์มัลติมีเดียเริ่มมีการทำให้เป็นมาตรฐานใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) ด้วย RFC 2045 ไปจนถึง RFC 2049 และภายหลังก็เรียกกันว่า ส่วนขยายสื่อประสมในระบบอินเตอร์เน็ตแบบอเนกประสงค์ (MIME)
         ระบบอีเมลที่ดำเนินงานบนเครือข่าย มากกว่าที่จะจำกัดอยู่บนเครื่องที่ใช้ร่วมกันครื่องเดียว มีพื้นฐานอยู่บนแบบจำลองบันทึกและส่งต่อ (store-and-forward model) เครื่องให้บริการอีเมลนั้นจะตอบรับ ส่งต่อ หรือเก็บบันทึกข้อความขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้คนนั้นจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับระบบอีเมลภายในด้วยคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ บนเครือข่าย ในการรับส่งข้อความจากเซิร์ฟเวอร์ที่กำหนด ส่วนการส่งอีเมลโดยตรงจากอุปกรณ์สู่อุปกรณ์นั้นพบได้ยากกว่า“Chat” ในภาษาอังกฤษ แปลว่า สนทนาอย่างเป็นกันเอง เช่นเดียวกันกับในอินเทอร์เน็ต  จุดต่างกันเพียงแค่ในอินเตอร์เน็ต การแชทเป็นการคุยโดยใช้วิธีพิมพ์ข้อความลงไปเท่านั้น ไม่ได้ใช้เสียง แต่ว่าปัจจุบันก็มีบางโปรแกรมที่สามารถคุยเห็นหน้ากัน ได้ยินเสียงกัน ถ้าหากผู้ใช้ต่ออุปกรณ์เสริม กล้องเวบแคม หรือไมโครโฟน เช่น โปรแกรม ICQ , MSN, Yahoo Messenger ฯลฯ
      9. Social Network คือ สังคมออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณหาเพื่อนบนโลกอินเตอร์เนทได้ง่ายๆ เราสามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา เพื่อแนะนำตัวเองได้ เช่น
        1. Hi5
        2. Friendster
        3. My Space
        4. Face Book
        5. Orkut
        6. Bebo
        7. Tagged
        8. Instagram
        9. twitter
        
       ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม (domain name) คืออะไร
     โดเมนเนม ความหมายโดยทั่วๆ ไป หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำและนำไปใช้งานได้ง่ายทั้ง ในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบโดเมนเนมซีสเทม ที่สามารถแก้ไขไอพีแอดเดรสของชื่อโดเมนเนมนั้นๆ ได้ทันทีโดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสที่มีการเปลี่ยนแปลง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ จะมีโดนเมนเนมเฉพาะไม่ซ้ำกับใคร โดนเมนเนม มีด็อทอยู่หลายประเภทแต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .com เพราะเป็นด็อทในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ
    
        ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
          1.  
โดเมน 2 ระดับ   ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
          2.  
โดเมน 3 ระดับ   ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ

        โดนเมนเนม 2 ระดับ  
    
     จะประกอบด้วย  www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.b2ccreation.com ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร 
   
    ประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้
  
    * .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
   
   * .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
   
   * .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
      * .edu 
คือ สถาบันการศึกษา
      * .gov 
คือ องค์กรของรัฐบาล
      * .mil 
คือ องค์กรทางทหาร
  
        
โดนเมนเนม 3 ระดับ  จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน .ประเทศ เช่น www.kmitnb.ac.th, www.nectec.or.th, www.google.co.th
         
        ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ 
    
    * .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
        * .ac 
คือ สถาบันการศึกษา
        * .go 
คือ องค์กรของรัฐบาล
        * .net 
คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
        * .or 
คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
        
        ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร 
         * .th   
คือ ประเทศไทย
         * .cn  
คือ ประเทศจีน
         * .uk  
คือ ประเทศอังกฤษ
        * .jp   
คือ ประเทศญี่ปุ่น
        * .au  คือ ประเทศออสเตรเลีย 

หลักการทำงานของเว็บบราวเซอร์และเว็บเชริฟ์เวอร์

หลักการทำงานของเว็บบราวเซอร์“Web browser”
       การทำงานของบริการ WWW นี้จะมีลักษณะเช่นเดียวกับบริการอื่นๆ ของอินเตอร์เน็ต คืออยู่ในรูปแบบไคลเอ็นต์ - เซิร์ฟเวอร์ (Client - Server) โดยมีโปรแกรมเว็บไคลเอ็นต์ (Web client) ทำหน้าที่เป็นผู้รับรองขอบริการ และมีโปรแกรมเว็บไซต์ (web server) ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ โปรแกรมเว็บไคลเอ็นต์ก็คือโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (web browser) นั้นเอง สำหรับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นจะถูกติดตั้งไว้ในเครื่องของผู้ให้บริการเว็บไซต์ การติดต่อระหว่างโปรแกรมเว็บบราวเซอร์กับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์จะกระทำผ่านโปรโตคอล HTTP (Hypertext Transfer Protocol) กลไกลการทำงานของเว็บเพจ
          สำหรับเว็บเพจธรรมดาที่ปกติมีนามสกุลของไฟล์เป็น HTM หรือ HTML นั้น เมื่อเราใช้เว็บบราวเซอร์เปิดดูเว็บเพจใด เว็บเซิร์ฟเวอร์ก็จะส่งเว็บเพจนั้นกลับยังบราวเซอร์ จากนั้นบราวเซอร์จะแสดงผลไปตามคำสั่งภาษา MTML (Hypertext Markup Language) ที่อยู่ในไฟล์จะเห็นได้ว่าเว็บเพจที่มีลักษณะ STATIC คือ ผู้ใช้จะพบกับเว็บเพจหน้าเดิมๆทุกครั้งจนกว่าผู้ดูแลเว็บเพจนั้นจะทำการปรับปรุงเว็บเพจนั้น อันนี้คือข้อจำกัดที่มีต้นเหตุมาจากภาษา MTML สามารถกำหนดให้เว็บเพจมีหน้าตาอย่างเราได้ แต่ไม่ช่วยให้เว็บเพจมี “ความฉลาดได้

    
         การสร้างเว็บเพจที่มีความฉลาดสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือการฝังสคริปต์หรือชุดคำสั่งที่ทำงานของฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (server – side script) ใว้ในเว็บเพจ



         จากรูปเป็นการทำงานของเว็บเพจที่ฝังสคริปต์ภาษา PHP ไว้ (ขอเรียกว่าไฟล์ PHP) เมื่อเว็บบราวเซอร์ร้องขอไฟล์ PHP ไฟล์ใด เว็บเซิร์ฟเวอร์จะเรียก PHP ENGINE ขึ้นมาแปล (INTERPRET) และประมวลผลคำสั่งที่อยู่ในไฟล์ PHP นั้น โดยอาจมีการดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล หรือเขียนข้อมูลลงไปยังฐานข้อมูลด้วย หลังจากนั้นผลลัพธ์ในรูปแบบ HTML จะถูกส่งกลับยังบราวเซอร์ บราวเซอร์ก็จะแสดงผลคำสั่ง HTML ที่ได้รับมา ซึ่งย่อยไม่มีคำสั่ง PHP ใดๆหลงเหลืออยู่เนื่องจากถูกแปลและประมวลผลโดย PHP ENGINE ที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ไปหมดแล้ว
         ให้สังเกตว่าการทำงานของบราวเซอร์ในกรณีนี้ไม่ต่างจากกรณีของเว็บเพจธรรมดาที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้เลย เพราะสิ่งที่บราวเซอร์ต้องกระทำคือ การร้องขอไฟล์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ จากนั้นก็รอรับผลลัพธ์กลับมาแล้วแสดงผลความแตกต่างจริงๆอยู่ที่การทำงานของฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งกรณีนี้เว็บเพจที่เป็นไฟล์ PHP จะผ่านการประมวลผลก่อน แทนที่จะถูกส่งไปยังบราวเซอร์ทันที
         การฝังสคริปต์ PHP ไว้ในเว็บเพจ ช่วยให้เราสร้างเว็บเพจแบบ DYNAMIC ได้ ซึ่งหมายถึงเว็บเพจที่มีเนื้อหาสาระและหน้าตาเปลี่ยนแปลงไปได้ในแต่ละครั่งที่ผู้ใช้เปิดดู โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่างๆ เช่น ข้อมูลที่ผู้ใช้ส่งมาให้ หรือข้อมูลในฐานข้อมูล เป็นต้น
          
หลักการทำงานของเว็บ Web Server
        1. องค์ประกอบพื้นฐานของ Web Server พื้นฐานของ Web Service คือ XML และส่วนใหญ่จะใช้ HTTP แต่อาจจะใช้อินเตอรเนตโพรโทคลออื่นอย่างเช่น SMTP หรือ FTP ก็ได้ แต่จะพบว่า HTTP ก็เป็นที่รู้จักกันดี และไปได้ทั่วทุกแห่งที่มี internet ส่วน XML คือภาษาสากลที่คุณสามารถปรับแต่งได้ตามใจชอบ เพื่อให้เกิดกิจกรรมละว่าง client และบริการ หรือ ระหว่างส่วนประกอบต่างๆ เบื้องหลัง Web serverก้อคือข้อความ XMLจะถูกแปลงให้การขอบริการจาก Middle ware และผลที่ได้ก็จะแปลงกลับมาในรูป XML
        2. ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบรักษาความปลอดภัยของเซิร์ฟเวอร์(Server Security) ระบบรักษาความปลอดภัยภาใน Server ที่ทางบริษัทฯให้บริการอยู่นั้นประกอบด้วยหลายปัจจัย โดยจะอธิบายราละเอียดในแต่ละขั้นตอนดังนี้    (ดูภาพประกอบคำอธิบาย)
      


      3. ใช้ระบบ Firewall มื่อ User มีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตไปยังเว็บไซต์ใดๆที่ฝากไว้ในเครื่อง Server ของเราจะผ่านการตรวจสอบจากไฟล์วอลล์ ทีกั้นระหว่างอินเตอร์เน็ตกับระบบเน็ตเวิร์คภายใน โดยไฟล์วอลล์จะทำหน้าที่ควบคุมการเข้าถึงเน็ตเวิร์คภายในที่เราต้องการจะป้องกันการควบคุมการเข้าถึงของไฟล์วอลล์ นั้นสามารถทำได้ในหลายรูปแบบขึ้นอยู่ชนิดหรือเทคโนโลยีของไฟล์วอลล์ที่มาใช้
       4. โปรแกรม Virus Scan&Spam Filltering  มื่อข้อมูลสามารถส่งผ่านไฟล์วอลล์แล้ว ก็จะถูกส่งต่อไปยังโปรแกรม Virus Scan และระบบกรอง     อีเมลล์ขยะหรือที่เรียกว่า Spam filtering
       5. หากผู้ใช้ระบบมีการติดตั้ง SSL Certificate ซึ่งเป็นระบบรับรองความปลอดภัยของเว็บไซต์อีกหนึ่งเพื่อเป็นการยืนยันความมีตัวตนของเจ้าของเว็บไซต์ โดยจะมีการเข้ารหัสเพื่อรับ ส่งข้อมูลผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหายระหว่างระบบเน็ตเวิร์คออนไลน์ภายนอกกับระบบเน็ตเวิร์คภายในเชิงเซิร์ฟเวอร์ สำหรับการตัดสินใจเลือกใช้ SSL หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความสำคัญของข้อมูลที่ต้องการรับ ส่งผ่านอินเตอร์เน็ตว่าต้องการความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหนหากเป็นข้อมูลสำคัญก็ควรส่งผ่านระบบ SSL
       6. ระบบ Brute  Force Protection การจัดการ Server ในส่วนของการ Login เข้าสู่ระบบจัดการมีการตั้งค่า Security เพื่อเข้ารหัสก่อนการเข้าถึงข้อมูลในส่วนต่างๆ
       7. การใช้ระบบ RAID 1 (Redundant Array of Inexpensive Disks) RAD-1 เป็นการบันทึกข้อมูลลงบนตัวฮาร์ดดิสก์ ทั้งสองตัวพร้อมๆกันและเป็นข้อมูลเดียวกันเพื่อสำรองข้อมูลให้ปลอดภัยในกรณีที่ ฮาร์ดดิสก์ตัวใดตัวหนึ่งในอะเรย์เสีย ฮาร์ดดิสก์อีกตัวจะทำหน้าที่เป็นตัวกระจกเงา (Mirror) ซึ้งมีข้อมูลเหมือนกันทุกอย่าง ก็จะทำหน้าที่แทนในทันทีทันใด
        8. การรักษาความปลอดภัยในระบบเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server Security)
        9. มีการ Back-up Server แบบ Daily Back-up สามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลใน Server จะไม่สูญหาย ในกรณีที่เกิดปัญหากับ Hardware ด้วยบริการ Back-up ข้อมูลอันสำคัญยิ่งก็จะมายังฮาร์ดิสก์สำรองด้วยScript back-up database แบบอัตโนมัติทุกๆวัน
         10. ระบบสำรองข้อมูลด้วยตนเองในส่วนของผู้ดูแลหรือจัดการ Hosting สามารถ Login เข้าไปใน Cpanel เพื่อทำการ Back-up ข้อมูลทั้งในเว็บไซต์ หรือฐานข้อมูลต่างๆได้ด้วยตนเอง 



การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น


           AR Soft ได้พัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ ตลอดจนโซลูชันและบริการที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้า ภายใต้การบริหารโครงการต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพตรงเป้าหมาย ด้วยความพร้อมของทีมงานที่มีศักยภาพ มีความชำนาญเฉพาะทาง เข้าใจทั้งด้านธุรกิจและเทคนิค สามารถออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์บนระบบปฏิบัติการที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เช่นWindows, UNIX, LINUX โดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับ เช่น MS-SQL, Oracle อีกทั้งพัฒนาซอฟต์แวร์บนแพลตฟอร์ม Java และ .NET ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันได้ขยายครอบคลุมไปในกลุ่มเทคโนโลยี Mobile เช่น iPad, iPhone, Android เป็นต้น
             ส่วนมากเรามักจะคุ้นเคยกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ติดตั้ง โปรแกรมพวก Microsoft Office ที่ประกอบด้วย Word ที่สำหรับพิมพ์เอกสาร Excelสำหรับสร้างตารางคำนวณ โปรแกรมพวกนี้เราจะเรียกมันว่า Desktop Application ซึ่งจะติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องใครเครื่องคนนั้น หรือโปรแกรมสำหรับงานบัญชี ที่บางหน่วยงานติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นลักษณะ Client-Server Application โดยเก็บฐานข้อมูลไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ (Server) และติดตั้งตัวโปรแกรมบัญชีที่เครื่องใช้งาน (Client) ซึ่งตอบสนองความต้องการเพิ่มขึ้นในด้าน Multi-User หรือใช้งานพร้อมๆกันได้หลายๆคน โดยใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เก็บฐานข้อมูลไว้ที่ส่วนกลาง 
             เทคโนโลยี Desktop Application ไม่สามารถตอบสนองความต้องการการบริหารจัดการได้ โดยเฉพาะการทำธุรกิจที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา ข้อมูลมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา เพื่อตอบสนองภาวะตลาดที่แปรเปลี่ยน ระบบ Client-Server Application ตัวโปรแกรมมีความซับซ้อน การแก้ไข การ Upgrade ทำได้ยุ่งยาก อย่างกรณี หากต้องการ Upgrade หรือเพิ่มคุณสมบัติเพิ่มเติมให้กับ Application ที่ตัวเซิร์ฟเวอร์ต้องหยุดระบบทั้งหมด และเมื่อ Upgrade ที่เซิร์ฟเวอร์แล้ว ก็จำเป็นต้อง Upgrade ที่ Client ด้วย หากระบบมีผู้ใช้งานจำนวนมาก จะยิ่งเพิ่มความยุ่งยากมากขึ้น
             นอกจากนี้ยังไม่รวมปัญหาว่า ที่เครื่อง Client มีความหลากหลายและแตกต่างกัน เช่น OS (Operating System) ที่ต่างกัน สเปคเครื่องที่แตกต่างกัน ซึ่งหากการ Upgrade แล้วมีความจำเป็นต้องใช้สเปคเครื่องที่สูงขึ้นที่ฝั่ง Client จำเป็นต้อง Upgrade ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตามไปด้วย
             จากตัวอย่างปัญหาเหล่านี้ ถูกจัดการด้วยเทคโนโลยี Web Application (เว็บแอพพลิเคชั่น) เพราะ Web Application สามารถตอบสนองปัญหาข้างต้นได้เป็นอย่างดี และสามารถแทนที่ Desktop Application ที่เป็น Client-Server Application ได้เป็นอย่างดี ตัวโปรแกรมของ Web Application จะถูกติดตั้งไว้ที่Server คอยให้บริการกับ Client และที่ Client ก็ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม สามารถใช้โปรแกรมประเภท Brower ที่ติดมากับ OS ใช้งานได้ทันที อย่าง Internet Explorer หรือโปรแกรมฟรี ได้แก่ FireFox, Google Chrome ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก ด้วยความสามารถของ Brower ที่หลากหลาย ทำให้ไม่จำกัดว่าเครื่องที่ใช้เป็น OS อะไร หรืออุปกรณ์อะไร อย่างอุปกรณ์ TouchPad หรือ SmartPhone ก็สามารถเรียกใช้งานได้ ลดข้อจำกัดเรื่องสถานที่ใช้งานอีกด้วย
            จุดเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือข้อมูลที่ส่งหากัน ระหว่าง Client กับ Server มีปริมาณน้อยมาก ทำให้เราสามารถย้ายเซิร์ฟเวอร์ไปอยู่บนเครือข่าย Internet ได้ และสามารถใช้งานผ่าน Internet Connection ที่มีความเร็วต่ำๆได้ จุดเด่นนี้ทำให้ สามารถใช้ Application เหล่านี้จากทุกๆแห่งในโลกได้
            เทคโนโลยีปัจจุบันยังสามารถประยุกต์เพิ่มเติมได้ไปถึงการตั้ง web server ใช้ภายในหน่วยงาน และให้ภายนอกเรียกใช้งานเว็บแอพพลิเคชั่นผ่านทางInternet ได้อีกด้วย ทำให้ไม่ว่าจะเรียกใช้งานจากช่องทางไหนข้อมูลจะถูกบันทึกหรือนำเสนอจากที่ที่เดียวกัน การ Update ข้อมูลจะรวดเร็ว ซึ่งการทำระบบแบบนี้มีค่าใช้จ่ายไม่มากเลย เมื่อเทียบกับความต้องการทางธุรกิจ ที่มีการแข่งขันสูง 

          เครื่องมือพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน
           • โปรแกรม Adobe Macromedia Dreamweaver
           • โปรแกรม Visual Studio
           • โปรแกรม Adobe Macromedia Flash
           • โปรแกรม SWiSH
           • โปรแกรม Adobe Photoshop
           • โปรแกรม Illustrator
           • โปรแกรม อื่นๆ


Chatbot เทคโนโลยีการสื่อสารรูปแบบใหม่ของคนยุคดิจิตอล



       ยุคดิจิตอลถือได้ว่าเป็นยุคที่มีความทันสมัยอย่างมาก เนื่องจากในยุคนี้มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วทำให้การติดต่อสื่อสารสะดวกสบายเพิ่มขึ้น การใช้ชีวิตในด้านต่าง  ไม่ว่าจะเป็นการพักอาศัยภายในบ้าน การเรียนหนังสือในโรงเรียนมหาวิทยาลัย หรือการทำงานภายในที่ทำงาน ก็ต้องปรับให้ทันสมัยตามไปด้วย โดยได้นำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีหนึ่งที่ถือได้ว่าเริ่มเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นก็คือ เทคโนโลยี Chatbot (แชทบอท)


Chatbot คือ โปรแกรมสนทนาอัตโนมัติ พัฒนาขึ้นเพื่อจำลองการสนทนาของมนุษย์ ทำให้สามารถสื่อสาร และพูดคุยกับมนุษย์ได้แบบ Real time และไม่เพียงแต่เป็นข้อความ Chatbot ยังสามารถสื่อสารผ่านเสียงได้อีกด้วย อย่าง โปรแกรม Voice Assistant App เช่น Alexa หรือ Siri เป็นต้น

Chatbot ถูกพัฒนาขึ้นเป็น แบบ
        1. Rule-Based Bot คือ Chatbot ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้กฎ เป็นตัวตั้งต้นคำสั่งในการสื่อสาร โดยการสร้าง กฎ หรือ คีย์เวิด ลงไปในระบบ และคำตอบที่ตรงกับคีย์เวิดนั้นๆ ถ้าหากคำถามที่ลูกค้าถามตรงกับคีย์เวิดตัวไหน ระบบก็จะตอบคำถามตามที่ได้ถูกกำหนดไว้นั่นเอง ซึ่งระบบ Chatbot แบบนี้จะมีข้อเสียตรงที่ เราจะต้องทำคีย์เวิดและการตอบคำถามไว้หลายๆ กรณี หากผู้ใช้ตอบกลับแล้วไม่ตรงกับคำสั่งที่เราเตรียมไว้ ตัว Chatbot ก็อาจไม่เข้าใจว่าผู้ใช้ต้องการอะไร และไม่สามารถตอบคำถามผู้ใช้ได้อย่างถูกต้องนั่นเอง
       2. AI Bot คือ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ และ Machine Learning เข้ามาพัฒนาให้ Chatbot มีความฉลาดเหมือนมนุษย์ สามารถโต้ตอบ และสื่อสารกับผู้ใช้งานได้อย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็จะมีความยากในการทำมากกว่า แต่ก็เป็นแบบที่นิยมกันมากในบริษัทใหญ่ๆ ที่พัฒนาระบบ Chatbot อย่าง IBM, Microsoft, และ Google เป็นต้น

รูปแบบของ ChatBot  มีแบบไหนบ้าง ?
การประยุกต์ใช้งานของ ChatBot  จะแบ่งได้ในแต่แบบดังนี้
       1. แบบทั่วไป เช่นสำหรับ QnA ที่เป็นการเอาคำถามคำตอบที่จำเป็นต้องตอบคำถามบ่อยๆมาทำเป็นBot ซึ่ง Conversation Flow ก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร หรือ แทบจะเป็นคำถามแบบอิสระด้วยซ้ำไป  
       2. แบบ Form  ที่มีไกด์ในผู้ใช้ปฏิสัมพันธ์กับ Bot เอง ถ้านึกไม่ออกว่าเป็นแบบไหนให้นึกถึงเวลาที่เราโทรไปติดต่ออะไรสักอย่างกับระบบโทรศัพท์อัตโนมัติของธนาคารหรือบัตรเครดิต ที่เราต้องป้อนอินพุตไปตามการถามกลับของ Bot เพื่อให้เราเลือกปฏิสัมพันธ์ด้วย
       3. แบบการตอบกลับหรือแจ้งกลับหาเราโดยที่เราไม่ต้องเริ่มถาม ลักษณะแบบนี้ให้นึกถึง Bot ของ Line Connect ค่ายต่างๆ เช่น ธุรกิจร้านขายเสื้อผ้า

ประโยชน์ของ Chatbot (แชทบอท) 
                Chatbot เป็นรูปแบบการสื่อสารรูปแบบใหม่ ที่นำคอมพิวเตอร์ และระบบ AI (ปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการประมวลผลและตอบโต้กับคู่สนทนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมือนว่ากำลังพูดคุยกับคนจริง  Chatbot ทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้ช่วยอัจฉริยะในการตอบคำถามต่าง  ทำให้เกิดความสะดวกในการใช้ชีวิตในทุก  ด้าน ประโยชน์ของ Chatbot มีมากมายดังต่อไปนี้ 
1.   มีความฉลาดอย่างมาก เพราะใช้ ระบบ AI เข้ามาใช้ประโยชน์ทำให้สามารถพูดคุยได้หลายภาษา ทำให้ลดปัญหาในการสื่อสารลงได้
2.  เนื่องจากใช้คอมพิวเตอร์ในการตอบคำถาม จึงทำให้ Chatbot สามารถตอบคำถามต่าง  ได้ตลอดเวลา ช่วยลดปัญหาในเรื่องของข้อจำกัดในด้านพื้นที่ลง เช่น ผู้ถามคำถามอาจจะอยู่ต่างประเทศ ที่มีเวลาต่างกันมาก  แต่ก็สามารถทราบข้อมูลต่าง  ได้ทันที เป็นต้น
3.  สามารถนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง  ภายในบ้าน ทำให้การใช้ชีวิตภายในบ้านสะดวกสบายเพิ่มขึ้น เช่น การสั่งงานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง  จากที่ต้องเดินไปเปิด – ปิดอุปกรณ์เอง ก็เปลี่ยนมาสั่งงานด้วยเสียง (เป็น Chatbot รูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันเพียงแค่นี้การใช้ชีวิตภายในบ้านก็จะสนุก และทันสมัย เป็นต้น
4.  ใช้สำหรับการขายสินค้า และการให้คำปรึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ใช้ในการแนะนำ หรือตอบคำถามการใช้งานสินค้า และบริการต่าง  เป็นต้น
5.  เป็นเพื่อนคุยแก้เหงาของคนรุ่นใหม่ ในปัจจุบันคนมีภาวะความเครียดเพิ่มมากขึ้น อันนำไปสู่การเกิดภาวะของโรคซึมเศร้าสูงขึ้นตามไปด้วย Chatbot เป็นแอปพลิเคชันที่ถูกสร้างขึ้นจำนวนมากเพื่อใช้ในการพูดคุยเพื่อคลายความเครียด ความเหงาให้กับคนยุคใหม่ และบางแอปพลิเคชันยังมีโปรแกรมในการให้คำปรึกษาในด้านต่าง  เช่น การกินอาหาร การออกกำลังกายและการเดินทาง เป็นต้น
6.   ช่วยลดอัตราการจ้างพนักงานภายในบริษัทลง ระบบ Chatbot เข้ามาแทนที่การตอบคำถามที่เกี่ยวข้องต่าง  ของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.  ใช้สำหรับการเรียนการสอน มีการนำ Chatbot มาใช้ในการสร้างบทเรียน และแบบฝึกหัดต่าง  ให้กับผู้เรียน โดยผู้เรียนสามารถทำแบบฝึกหัดเพื่อเพิ่มทักษะในวิชาต่าง  ได้และเมื่อตอบผิดก็จะบอกว่าที่ถูกเป็นอย่างไร และปรับระดับของแบบฝึกหัดให้ง่ายขึ้นเพื่อเหมาะแก่ผู้เรียน


Chatbot ดีกับนักธุรกิจยังไง ?
       1. Chatbot ช่วยให้การสื่อสารกับลูกค้าเป็นไปได้ตลอดเวลา
ใช่แล้วลูกค้าของคุณสามารถติดต่อ สอบถามผ่านระบบ Chatbot ของคุณได้ตลอดทุกๆ วัน ทั้ง 24 ชั่วโมง ช่วยแก้ปัญหาการตอบลูกค้าช้า ช่วยลูกค้าแก้ปัญหาได้ทันเวลา เพิ่มความพึงพอใจในการบริการให้คุณได้เป็นอย่างดี
      2. Chatbot ช่วยลดระยะเวลาในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า
      3. Chatbot สามารถ ช่วยกิจการของคุณในการปิดการขาย คอยแนะนำลูกค้า สร้างบิล และนำลูกค้าเข้าสู่กระบวนการการจ่ายเงินได้ นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางในการนำเสนอข่าวสาร โปรโมชั่นต่างๆ ได้อีกด้วย
     4. ช่วยบันทึกข้อมูลลูกค้าเพื่อนำไปปรับปรุงสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้นให้ Chatbot ช่วยพูดคุยและสอบถามลูกค้าเกี่ยวกับความพึงพอใจในการใช้สินค้าและบริการ และจัดเก็บข้อมูลไว้ เพื่อที่ให้กิจการสามารถนำข้อมูลไปใช้พัฒนาสินค้าและบริการให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป

การสร้าง Chatbot
      สำหรับธุรกิจเล็กๆ หรือธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น สามารถให้ Chatbot แบบ Rule-Based Bot เป็นตัวช่วยในการสื่อสาร ติดต่อลูกค้าได้แบบฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยใช้โปรแกรมการตอบบทสนนาอัตโนมัติหรือ Auto Reply ที่ร้านค้าไหนมี Page ของ Facebook ก็สามารถทำได้ นอกจากนั้นยังมี Rule-Based Bot ในแอปพลิเคชั่นของ Line@ ที่เพื่อนๆ สามารถใส่คีย์เวิดและคำตอบ เพื่อให้เจ้า Chatbot ทำการสนทนาแทนในขณะที่เพื่อนๆ ยังไม่ว่างได้เช่นกัน

ตัวอย่างการใช้งาน Chatbot
จากรูปด้านบน โดยเริ่มจากซ้ายมือดังนี้
      –  Channel ที่อาจจะเป็น Facebook – Messaging สำหรับการส่งและรับข้อมูลระหว่าง Bot  
      –  Bot Framework  ส่วนนี้เป็นองค์ประกอบหลักสำหรับติดต่อกัล Channel ที่ต้องเปิดเป็น API End-point  และ การจัดการพวก Conversation Flow ในลำดับการพูดคุยกับ Bot  โดยหลักแล้วแต่ละค่ายก็จะเตรียมพวก SDK ของตนไว้ให้เสร็จสรรพ ทั้งภาษา C# , Node.js หรือ PHP 
      –  ส่วนสุดท้ายขวามือ กล่องด้านบนก็จะเป็นพวก Knowledge Base ทั้งแบบธรรมดา และ แบบ AI ซึ่งโดย Service ของค่ายต่างๆก็จะต้องเป็นเป็น API End-point ไว้ให้เราไปเรียกสอบถามคำถามเช่นกัน
      – ส่วนขวามือล่าง กรณีที่ต้องติดต่อกับ Back-end Data Service ต่างๆตามลักษณะของงานเช่น ต้องไปสอบถามข้อมูล Stock  ก็จะต้องเป็น API End-point ไว้ให้เรียกเข้าไปเอาข้อมูลมาตอบกลับไปให้ผู้ใช้เช่นกัน  แต่การจะตอบกลับอะไร หรือ เรียก ฟังก์ชั่นของ API อะไร ก็จะขึ้นอยู่กับที่ Dialogue Flow ทำ Logic แปลความหมายจากผลลัพธ์ที่ตอบกลับมาจากฝั่ง Knowledge Base นั้นเอง
     – ส่วนขวามือ Raw Knowledge Content กล่องนี้จะแทนการสร้าง Knowledge ก็จะต้องใช้ Content เหล่านี้ขององค์กรลูกค้าเข้าไปเป็นอินพุตของระบบเช่นกัน
ทั้งหมดนี้ก็พอจะอธิบายเป็นภาพแบบโครงสร้างง่ายๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในองค์ประกอบ การปฏิสัมพันธ์ และ หน้าที่ส่วนต่างๆที่จะประกอบรวมกันเป็น ChatBot นั้นเอง