หน่วยที่ 5 การขนส่งสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรกนิกส์

การก้าวสู่ยุคดิจิทัล ส่งผลให้ธุรกิจต้องปรับตัวรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดย เฉพาะ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกันผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น B2B หรือ B2C อาจกล่าวได้ว่าโลกทุกวันนี้ไร้พรมแดน การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ มิใช่เรื่องยากเช่นในอดีต เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนระบบการชำระเงิน (E-payment / Internet Banking) ที่ช่วยให้การซื้อ-ขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
           รายงานมูลค่าอีคอมเมิร์ซปี 2560 ของประเทศไทย เมื่อเทียบกับปี 2559 มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่ารวมประมาณ 2,812,592.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.86% ซึ่งมูลค่าขายส่วนใหญ่เป็นมูลค่า อีคอมเมิร์ซประเภท B2B จำนวนทั้งสิ้น 1,675,182.23 ล้านบาท (59.56%) เพิ่มขึ้น8.63% ส่วนมูลค่าอีคอมเมิร์ซประเภท B2C จำนวน 812,612.68 ล้านบาท (28.89%) เพิ่มขึ้น 15.54% และมูลค่าอีคอมเมิร์ซประเภท B2G จำนวน 324,797.12 ล้าน บาท (11.55%) เพิ่มขึ้น 3.24% ซึ่งจะเห็นได้ว่ามูลค่าอีคอมเมิร์ซประเภท B2C มีอัตราการขยายตัวมากที่สุด อันสะท้อนถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน 
   

1.   ตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นในอนาคต เนื่องจากผลสำรวจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของไทยปี 2560 พบว่าจำนวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ต ในปี 2560 เพิ่มสูงขึ้นกว่าปี 2559 และกิจกรรมการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อซื้อสินค้าและบริการผ่านอีคอมเมิร์ซมีมากขึ้น จนติดอันดับที่ จากประเภทกิจกรรมต่าง ๆ เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มยอมรับว่าอีคอมเมิร์ซมีข้อได้เปรียบมากมาย ทั้งเป็นเรื่องง่าย ประหยัดเวลาและการเดินทาง ซื้อสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น
2.   ความหลากหลายของช่องทางการขายออนไลน์ ที่ทำให้ผู้ประกอบการหันมาเพิ่มช่องทางการขายและบริการผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซมากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้ธุรกิจ และขยายฐานลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3.   การสนับสนุนและส่งเสริมจากภาครัฐ เพื่อผลักดันธุรกิจอีคอมเมิร์ซภายในประเทศ โดยมุ่งสนับสนุนและเร่งพัฒนาผู้ประกอบการในระดับฐานราก ทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการท้องถิ่น ให้สามารถค้าขายออนไลน์ได้จริง รวมถึงพัฒนาผู้ประกอบการรายเดิมให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซมากขึ้น
4.   การเข้ามาลงทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศมีจำนวนมากขึ้น นับตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา เราได้เห็นยักษ์ใหญ่ในวงการการค้าออนไลน์เริ่มมีการขยายธุรกิจอีคอมมิร์ซเข้ามาในภูมิภาคอาเซียนทั้ง อาลีบาบา (Alibaba) ที่เข้ามาซื้อกิจการของ ลาซาด้า (Lazada) การที่ อีเลฟเว่นสตรีท (11street) ผู้ประกอบการรายใหญ่จากเกาหลีใต้ เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย การเปิดตัวของเว็บไซต์ ช้อปปี้ (Shopee) จาก SEA สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์น ใน รายแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2560 รวมถึงการร่วมทุนของ เซ็นทรัล กรุ๊ป ยักษ์ใหญ่แห่งธุรกิจค้าปลีก กับ เจดีดอทคอม (JD.com) ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซ อันดับ ของจีน ที่เตรียมแผนรุกตลาด ในปี 2561 นี้ และเมื่อมองภาพไปในระดับภูมิภาคก็จะเห็นการเข้ามาของ อเมซอน (Amazon) จากฝั่งตะวันตก ที่เริ่มให้บริการในสิงคโปร์เมื่อปี 2560 และมีแผนที่จะเริ่มให้บริการในเวียดนามด้วย
ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ยืนยันได้อย่างชัดเจนถึงการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเมื่อธุรกิจนี้มีแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็วย่อมส่งผลไปถึงอีกหลากหลายธุรกิจที่ต้องปรับตัวตามให้ทัน ทั้งธุรกิจด้านการโทรคมนาคม ซอฟต์แวร์ ไอที หรือแม้แต่ธุรกิจด้าน โลจิสติกส์ที่เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ขับเคลื่อนให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซสมบูรณ์แบบ

Logistics Express กับ E-commerce

          กลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซจำเป็นต้องอาศัยการบริการขนส่งเป็นองค์ประกอบหลัก ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ผู้ประกอบการแต่ละรายจะมีช่องทางในการกระจายสินค้าและบริการที่แตกต่างกัน อาทิ กลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบ Enterprises นิยมใช้บริการบริษัทโลจิสติกส์ Outsource (Third Party) มากที่สุด 39.13% รองลงมาได้แก่การใช้บริการไปรษณีย์ไทย 34.78% และการใช้บริการโลจิสติกส์เป็นของตนเอง (Own Transportation) 26.09% ด้านกลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบ SMEs นิยมใช้บริการไปรษณีย์ไทยมากที่สุดถึง 84.38% รองลงมาได้แก่ การใช้บริการบริษัทจัดส่งสินค้า (47.76%), การใช้บริการส่งโดยบริษัทตัวกลางในการจัดส่งสินค้า (8.40%), การใช้บริการจัดส่งสินค้าของตัวเอง (8.15%), การส่งข้อมูลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (6.23%), การกำหนดจุดรับสินค้าระหว่างผู้ประกอบการกับลูกค้า (5.37%) และรูปแบบอื่นๆ (1.89%)
         ธุรกิจ Logistics Express เติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง คาดการณ์ว่า ในปัจจุบันมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 28,000 ล้านบาท และเติบโตโดยเฉลี่ย 10 – 20% ต่อปี การแข่งขันในธุรกิจนี้จึงเข้มข้น ไม่เฉพาะแต่ผู้ประกอบการในประเทศเท่านั้น ยังมีการเข้ามาลงทุนของบริษัทขนส่งทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งล่าสุด มีผู้ประกอบการขนส่งรายใหญ่ของไทยร่วมมือกับบริษัทขนส่งพัสดุรายใหญ่ของต่างชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำจุดแข็งมาแลกเปลี่ยนระหว่างกัน เช่น การนำองค์ความรู้การให้บริการในรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่การทักทายลูกค้า การเข้าหาลูกค้า และการบริการอื่น ๆ ที่เสริมให้ธุรกิจนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น การขยายสาขาและจุดรับพัสดุ การร่วมมือกับร้านสะดวกซื้อเพื่อสร้างความแข็งแกร่งแก่เครือข่ายขนส่ง ลดต้นทุนการทำธุรกิจ ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้ล้วนส่งผลให้สถานการณ์การแข่งขันของธุรกิจขนส่งพัสดุแบบเร่งด่วน (Logistics Express) ในไทยทวีความรุนแรงขึ้น
            ไปรษณีย์ไทยผู้ประกอบการรายสำคัญที่ครองตลาดการจัดส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคทั่วประเทศสูงถึง55% โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัดมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึง 70% ความสามารถในกระจายสินค้าได้มากที่สุด ส่วนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีส่วนแบ่งทางการตลาดลดลงมาอยู่ 40% (ไปรษณีย์ไทย, 2560) ด้วยผลประกอบการรายปี ไปรษณีย์ไทย มีกำไร 4,222 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% จากปี 2559 ส่วนปีนี้ ไปรษณีย์ไทยได้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 4,500 ล้านบาท (www.brandbuffet.in.th, 2018) ซึ่งหากเปรียบเทียบมูลค่าภาพรวมในตลาดโลจิสติกส์ที่สูงนับหมื่นล้านบาท ยังมีพื้นที่ในตลาดอีกมากที่รอให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ กระโจนเข้ามาในธุรกิจนี้
               อย่างไรก็ตาม คู่แข่งขันที่กำลังมีบทบาทสำคัญอยู่ในขณะนี้อย่าง เคอรี่ โลจิสติกส์กรุ๊ป” ก็มองเห็นช่องว่างของธุรกิจที่สามารถเติบโตได้ โดยเปิดสาขาในประเทศไทยกว่า 1,500 แห่ง ศูนย์กระจายสินค้า 600 แห่ง อยู่ระหว่างการก่อสร้างศูนย์คัดแยกสินค้าขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นอีก แห่ง และกำลังขยายเฟสที่ ของศูนย์คัดแยกสินค้า (brandinside.asia,2017)

ธุรกิจ Logistics Express

           บริษัทขนส่งที่เข้ามามีบทบาทในประเทศไทย หลักๆ แล้ว มีรูปแบบการประกอบกิจการที่สามารถแบ่งออกเป็น ลักษณะ ได้แก่ รูปแบบ B2B (การจัดส่งแบบ Point to Point) และ รูปแบบ B2C & C2C (การจัดส่งแบบ Door to Door)
ตารางแสดงตัวอย่างผู้ประกอบการในธุรกิจขนส่ง

            รูปแบบธุรกิจทั้ง กลุ่ม มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ด้วยความแตกต่างของกลุ่มลูกค้า ซึ่งเป็นปัจจัยที่กำหนดรูปแบบ การดำเนินงาน และกลยุทธ์ทางการแข่งขันให้แก่บริษัท การจัดส่งแบบ B2B ลูกค้าจะไม่เน้นความรวดเร็ว แต่จะเน้นที่การลดต้นทุนการขนส่งเป็นหลัก เนื่องจากลูกค้ากลุ่มนี้จะนำสินค้าที่ส่งมาไปจำหน่ายต่อหรือประกอบและแปรสภาพก่อนการจำหน่าย ดังนั้นยิ่งผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนขนส่งลงมากได้เท่าไหร่ ย่อมมีช่องว่างให้ทำกำไรได้มากขึ้นเท่านั้น โดยกลยุทธ์ที่ช่วยลดต้นทุนลงได้ เช่น การขนส่งแบบเต็มคัน (Full Truck Load) หมายถึง การขนส่งครั้งละมากๆ หรือในบางครั้งอาจรวมไปถึงการหาสินค้าเที่ยวกลับ (Backhauling Management) เพื่อลดการวิ่งเปล่าที่จะกลายเป็นต้นทุน การควบคุมพฤติกรรมของคนขับรถ เพื่อประหยัดน้ำมันและลดการเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น
            ส่วนการจัดส่งแบบ B2C หรือ C2C ลูกค้าจะให้ความสำคัญกับความแน่นอนและความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าเป็นหลัก เรื่องต้นทุนรองลงมา ซึ่งแตกต่างจากความต้องการในการขนส่งแบบ B2B โดยเห็นได้จากพฤติกรรมของผู้ใช้บริการแบบพัสดุลงทะเบียนและพัสดุ (บริการพิเศษ) ที่มีเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ดังตาราง ดังนี้
ตารางแสดงปริมาณงานบริการไปรษณีย์ในประเทศ


        นอกจากนี้ กลยุทธ์ในการแข่งขันของผู้ให้บริการโลจิสติกส์จะให้ความสำคัญกับการกำจัดความสูญเสีย ประการ (The 7 Waste) ได้แก่
1.   ลดการสูญเสียตั้งแต่กระบวนผลิต คือ การลดกระบวนการในการรับสินค้าเข้าให้ใช้เวลาน้อยที่สุด เช่น พนักงานรับพัสดุไม่ต้องนั่งคีย์ข้อมูลผู้ส่ง แต่ใช้บัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด (Smart Card) เพื่อดึงข้อมูลของผู้ส่งเข้าระบบแทน
2.   ลดการสูญเสียจากการเก็บวัสดุคงคลังมากไป เช่น การลดการจัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์ โดยจัดเก็บเฉพาะวัสดุที่มีการใช้เป็นประจำเท่านั้น
3.   ลดการสูญเสียด้านการขนส่ง โดยไม่ต้องรอให้พัสดุเต็มคันแล้วค่อยดำเนินการจัดส่ง แต่กำหนดเวลาการขนส่งแทน
4.   ลดการสูญเสียจากการเคลื่อนไหว อาทิ การจัดเรียงสินค้าขึ้นรถขนส่ง ที่คำนึงถึงลำดับก่อนหลังในการจัดส่ง เพื่อลดการเคลื่อนย้ายสินค้า เข้า - ออกมากเกินไป
5.   ลดการสูญเสียจากการผลิตมากเกินไป จะเห็นได้ว่าบริษัทขนส่งจะกระจายความเสี่ยง โดยการจ้างรถจากภายนอกที่เรียกติดปากกันว่า รถร่วม” เพื่อลดค่าใช้จ่ายของการใช้รถ กรณีความถี่การใช้งานน้อยลง
6.   ลดการสูญเสียจากการรอคอย โดยการบริหารจัดการได้ทั้งหน้าร้าน และหลังร้าน เช่น การบริหารจัดการตารางเวลาในการรับ – ส่งสินค้า ให้รถจอดน้อยที่สุด หรือการโทรศัพท์เพื่อยืนยันเวลาจัดส่งกับลูกค้า เพื่อลดการจอดรอลูกค้า เป็นต้น
7.   ลดการสูญเสียจากการผลิตของเสีย ในอุตสาหกรรมขนส่งนั้น อาจหมายถึงการออกให้บริการแล้วไม่สามารถส่งมอบได้ ด้วยหลากหลายเหตุผลการผิดพลาด เช่น การจ่าหน้าไม่ชัดเจน ก็ปรับมาใช้เป็นระบบการพิมพ์แทนการเขียน การคัดแยกสินค้าที่ผิดพลาด จากการคัดแยกด้วยคน เป็นตัดแยกด้วยบาร์โค๊ด เป็นต้น
ถึงแม้ว่า กระบวนการกำจัดความสูญเสียที่กล่าวมานั้น จะช่วยลดเวลาการทำงานได้ ในทางกลับกันก็ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของต้นทุนด้วย ดังนั้น ประเด็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและกลยุทธ์เพื่อลดต้นทุน อาจไม่ใช่ประเด็นเดียวที่ผู้ประกอบการต้องตระหนักถึงแล้ว เพราะนอกเหนือจากนั้น มาตรฐานการบริการที่รวดเร็ว คือ อีกปัจจัยสำคัญที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยินดีจ่ายในส่วนนี้

Logistics Express กับช่องทางการแข่งขันในอนาคต

          ผู้ประกอบการด้านขนส่งพัสดุสินค้าย่อยแบบเร่งด่วนต้องมีการเร่งสร้างจุดแข็ง เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด โดยนำจุดเด่นออกมานำเสนอ เช่น ความรวดเร็วในการขนส่งสินค้าหรือสามารถส่งสินค้าได้สะดวกกว่าเพราะมีจุดรับสินค้าที่ครอบคลุมพื้นที่ รวมถึงความสามารถในการกระจายสินค้าได้อย่างทั่วถึง ที่ผ่านมาประเทศไทยมีผู้ประกอบการในตลาด Logistics Express ที่สำคัญมีอยู่เพียงรายเดียว คือ ไปรษณีย์ไทย แต่ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการข้ามชาติที่เข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดมากขึ้น ทำให้รูปแบบการให้บริการที่ตอบสนองความรวดเร็วเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าอีกต่อไป
          แม้ว่าความต้องการหลักของผู้บริโภคคือความรวดเร็ว และยังมีเพียงไม่กี่บริษัทที่สามารถจัดส่งสินค้าได้ภายในวันเดียวหรือวันถัดไป แต่ถ้าหากพิจารณาถึงอนาคตหากผู้ให้บริการสามารถพัฒนาตนเองจนมีความเร็วในการส่งสินค้าไดไม่ต่างกัน ผู้บริโภคย่อมเรียกหาบริการที่เพิ่มขึ้นหรือความแตกต่างในการรับบริการอย่างแน่นอน โดยผู้ให้บริการขนส่งจำเป็นต้องพัฒนากลยุทธ์ทางการแข่งขันออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบสินค้าและบริการที่ดีที่สุดให้แก่ผู้บริโภคที่มีความต้องการในตัวสินค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ให้บริการโลจิสติกส์อาจนำแนวทางเพื่อพัฒนาธุรกิจการส่งสินค้าแบบเร่งด่วนไปพิจารณาทั้งหมด ข้อ ดังนี้
1. การส่งมอบบริการที่มากกว่าการจัดส่ง หากอนาคตความเร็วในการให้บริการมีความใกล้เคียงกัน ผู้บริโภคก็จะเรียกหาบริการอื่นที่สะท้อนความเป็นมืออาชีพ และใส่ใจรายละเอียดมากขึ้น เช่น มิตรภาพในการให้บริการ ความกระตือรือร้นในการจัดส่ง การเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้า เป็นต้น
2. การให้บริการที่เป็นจุดแข็งของตนเอง ปัจจุบันลูกค้าส่วนใหญ่จะเข้าไปใช้บริการส่งพัสดุแบบทั่วไป เช่น เอกสาร สินค้า เป็นต้น ซึ่งเป็นตลาดที่มีอัตรากันแข่งขันค่อนข้างสูง หากมีรายใดที่สามารถส่งสินค้าที่ต้องการเงื่อนไขพิเศษได้ ย่อมสามารถสร้างความแตกต่างและจะกลายเป็นจุดแข็งขององค์กรในที่สุด ดังเช่นกรณีของเอสซีจี เอ็กซ์เพลส ที่มีบริการขนส่งสินค้าแบบแช่เย็นหรือแช่แข็ง ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มที่ผู้บริโภคจะสั่งสินค้าประเภทอาหารเพิ่มขึ้น หรืออาจจะมีจุดแข็งในการส่งสินค้าที่มีชีวิต เช่น สัตว์เลี้ยงราคาแพง เป็นต้น รวมถึงการเข้าไปทำธุรกิจเชิงรุก การเข้าไปให้บริการผู้ค้าออนไลน์แบบครบวงจร ทั้งจัดเก็บ บริหารสินค้าคงคลัง และกระจายสินค้า ให้แบบเบ็ดเสร็จก็สามารถทำได้
3. การขยายพื้นที่การให้บริการเพิ่มขึ้น ด้วยพฤติกรรมในการเลือกบริการส่งสินค้าของผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่หากว่าผู้ให้บริการไม่สามารถส่งสินค้าให้ครอบคลุมถึงหน้าบ้านของลูกค้าได้ ก็มีความจำเป็นต้องเลือกผู้ประกอบการรายอื่นแทน ดังนั้นการขยายพื้นที่การให้บริการ ยังคงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญ โดยอาจจะเพิ่มกลยุทธ์ Blue Ocean ที่ไม่มุ่งเน้นที่จะตอบสนองต่ออุปสงค์ที่มีอยู่ แต่จะเน้นในการสร้างความต้องการหรืออุปสงค์ขึ้นมาใหม่ เช่น การให้บริการขนส่งในเส้นทางหรือพื้นที่ที่มีความเฉพาะ และมีผู้เข้าไปแข่งขันน้อย ดังเช่นพื้นที่ตามหมู่เกาะต่างๆ เป็นต้น
4. การมีจุดรับพัสดุครอบคลุมทุกพื้นที่ เมื่อผู้ให้บริการสามารถส่งสินค้าไปยังพื้นที่ใดได้แล้ว ก็ควรจะต้องมีจุดรับสินค้าในพื้นที่ดังกล่าวด้วย เพื่อให้สายโซ่ของการบริการนั้นครบวงจร แต่ก็ควรใช้รถขนส่งและพนักงานจัดส่งสินค้านั้นเป็นพื้นที่ในการรับสินค้าไปในตัว โดยการปรับให้รถที่ใช้ในการจัดส่งและพนักงานต้องสามารถทำหน้าที่รับสินค้าจากลูกค้าได้ด้วย หากผู้ให้บริการสามารถทำได้ จะนำมาซึ่งความสามารถของบริษัทในการเข้าถึงผู้ใช้บริการในทุกพื้นที่ และกลายเป็นการรับสินค้าได้จากทุกบ้าน
5. Partner คือทางเลือกที่สำคัญ หากผู้ประกอบการยังไม่สามารถขยายพื้นที่ให้บริการได้ครอบคลุมได้ การร่วมมือกับ Partner จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการประกอบธุรกิจ Logistics Express เพราะการร่วมมือกับผู้ที่มีเทคโนโลยีที่เหมะสม หรือการร่วมมือกับผู้ที่สนใจเข้ามารับช่วงการให้บริการในเรื่องของจุดรับสินค้าดังที่ไปรษณีย์และเคอรี่ ทำกันในปัจจุบัน ก็จะสามารถช่วยให้ธุรกิจนั้นขยายได้ในอัตราส่วนที่เร็วขึ้น แต่ก็จะตามมาด้วยความยุ่งยากในการบริหารจัดการ
แนวทางเพื่อพัฒนาธุรกิจการส่งสินค้าแบบเร่งด่วนทั้ง ข้อข้างต้น สิ่งสำคัญคือ ผู้ให้บริการหรือผู้ประกอบการโลจิสติกส์จำเป็นต้องพิจารณาถึงศักยภาพความพร้อมขององค์กรว่า ได้เตรียมรับมือกับการขยายบริการที่เพิ่มขึ้นได้มากเพียงใด โดยพิจารณาความเหมาะสมและความจำเป็นในการเลือกใช้แนวทางใดบ้างในการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันเพื่อให้กลายเป็นผู้นำได้


เลือกส่งสินค้า ทำอย่างไรดี
       การซื้อสินค้าผ่านสื่อออนไลน์และการทำ E-Commerce มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ทำให้เกิดช่องว่างทางธุรกิจโลจิสติกส์และพลิกโฉมรูปแบบการค้าที่เปลี่ยนจากการเดินทางออกไปซื้อ-ขายตามสถานที่ต่าง ๆ ไปสู่การซื้อขายและชำระเงินผ่านเทคโนโลยีบนโลกออนไลน์ แต่การส่งมอบสินค้าจากผู้ขายให้ถึงมือผู้ซื้อนั้น ยังคงต้องพึ่งพาจากบริษัทการขนส่งสินค้า ดังนั้น ยิ่งมีการซื้อขายผ่านออนไลน์มากขึ้นเท่าใด ก็จะยิ่งเกิดความต้องการใช้บริการขนส่งสินค้าไปยังผู้รับมากขึ้นเท่านั้น ปรากฏการณ์ดังกล่าว นับว่ากลายเป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวางระบบการจัดส่งสินค้า การปรับปรุงระบบธุรกิจ e-Commerce ให้มีความครบวงจร รวมถึงการลดต้นทุนในกระบวนการการทำงาน
       เมื่อมีการเปิดเว็บไซต์ เปิดช่องทางให้ชำระค่าสินค้าที่ครบถ้วน ปัญหาที่ตามมาคือ การจัดส่งสินค้าไปถึงผู้รับ ทำอย่างไร, ราคาเท่าไร, ถึงเมื่อไร ฯลฯ
       ระบบการขนส่ง จึงเป็น หนึ่งในกระบวนการของวงจรธุรกิจการค้า ที่มีความสำคัญอย่างหนึ่ง เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับการทำพาณิชอิเล็กทรอกนิกส์มากขึ้น
       สินค้า ต้อง ส่งถึงมือผู้บริโภคด้วยความปลอด ตรงเวลา ในราคาที่ตกลงกันไว้อย่างครบถ้วน
-             ดังนั้น ผู้ทำกิจการ E-Commerce จึงต้องสามารถให้คำแนะนำผู้บริโภคหรือลูกค้าได้ว่า สินค้าชนิดใดเหมาะสมกับการส่งสินค้าในรูปแบบใด ที่เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของลูกค้าและประหยัดต้นทุนของผู้ประกอบการและเจ้าของสินค้าในเวลาเดียวกัน


     ชนิดสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการชนส่ง ชนิด
         สินค้าที่จับต้องได้ (Hard Goods) คือสินค้าที่มีตัวตน จับต้องได้ ซึ่งเป็นสินค้าที่โดยส่วนใหญ่ของคนไทยนิยมทำการค้า E-Commerce กัน เช่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า อาหาร ฯลฯ การขนส่งสินค้าจะใช้บริการปกติที่แต่ละหน่วยงานต่างๆ มีให้บริการซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
         สินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Soft Goods) คือ สินค้าที่จับต้องไม่ได้ แต่เป็นสินค้าที่มีราคา เช่น สินค้ากลุ่มดิจิตอลต่างๆ เช่น ข้อมูลข่าวสาร รูปภาพ เพลง ภาพยนตร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรืออื่นๆ การขนส่งจะทำได้รวดเร็วกว่า อาจจะมีหรือไม่มีค่าใช่จ่ายในการขนส่ง เช่น Downloadโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไม่มีค่าใช้จ่ายๆ ในการขนส่งแต่เป็นค่าใช้จ่ายของสินค้าอย่างเดียว หรือ Download เพลงเรียงเข้าโทรศัพท์มือถือ อาจจะมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าเวลาที่ใช้ในการทำงาน



วิธีการขนส่งสินค้า
            1.  จัดส่งสินค้าโดยพนักงานขนส่งสินค้า เช่น Lazada ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้าได้อย่างดี รูปแบบการขนส่งบางครั้งจะเป็นลักษณะ CashOn Delivery (C.O.D) คือ จ่ายเงินค่าสินค้าให้กับพนักงานที่มาส่งสินค้านั้นๆ ได้เลย หรือบางครั้งอาจจะจ้างขนส่งมวลชนท้องถิ่นที่มีอยู่แล้ว เช่น มอเตอร์ไซต์รับจ้าง รถตู้ หรือ อื่นๆ 
           2.   จัดส่งสินค้าโดยผ่านไปรษณีย์ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ครอบคลุมทั้งในและต่่างประเทศ http://www.thailandpost.com/
                 - พัสดุไปรษณีย์ในประเทศ (DomesticParcel)
                 -  พัสดุไปรษณีย์ระหว่างประเทศ (InternationalParcel) 
          3.  ใช้บริการของบริษัทขนส่งเอกชนต่างๆ เช่น UPS, FedEx, DHL , Grap , Lalamove , Panda
**โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับระยะทาง น้ำหนักและขนาดของสินค้า**



บริการขนส่งของเอกชน
-       โดยบริษัทขนส่งไทย เช่น
           -  บริษัทขนส่ง จำกัด  http://www.transport.co.th/

                 -  บริษัทไปรษณีย์ไทย https://www.thailandpost.co.th/th/index/

-       โดยบริษัขนส่งต่างประเทศ
           -  FedEx http://www.fedex.com/th_thai/ 

                 -  UPS http://www.ups.com/asia/th/engindex.html
                  DHL http://www.dhl.co.th/th.html 
              
ผู้ให้บริการรับส่งสินค้า
          UPS ใด้ให้บริการกับผู้ทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต โดยการที่ร้านค้าสามารถที่จะเชื่อมโยง ระบบขนส่ง UPS เข้ากับเว็บไซต์ของร้านค้าได้โดยตรง ทำให้ผู้ซื้อสินค้าสามารถที่จะกำหนดรายละเอียดต่างๆ ได้ด้วยตนเอง สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ups.com


              FEDEX (Federal Express) เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้า ของระบบ E-Commerce มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลกมีสายการบินเป็นของตนเอง มีฝูงบินมากกว่า 584 ลำ รับประกันคืนเงินถ้าส่งของไม่ตรงเวลา หลังจากลงทะเบียนแล้ว ก็จะสามารถใช้บริการต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ทันทีสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fedex.com



                DHL เป็นบริษัทหนึ่งที่ให้บริการรับส่งสินค้าไปทั่วโลกโดยการจัดส่งด่วนทางอากาศ ด้วยบริการครอบคลุม 227 ประเทศทั่วโลก สามารถหาข้อมลูเพิ่มเติมได้ที่
http://www.dhl.com หรือ http://www.dhl.co.th 



การส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ
-              เจ้าของสินค้า ที่ต้องการส่งสินค้าไปต่างประเทศ ต้องพิจารณาด้วยว่าสินค้านั้น เป็นสินค้าต้องห้ามหรือไม่ เช่น เป็นสินค้าประเภทยา อาหารสด หรือสินค้าอื่นๆ ที่อยู่ในรายการต้องห้าม ต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-                กรมส่งเสริมการส่งออก เป็นหน่วยงานที่ให้ข้อมูลด้านการส่งออกของไทย https://www.ditp.go.th
ตัวอย่างข้อมูลที่ให้บริการ
ความรู้เบื้องต้นในการประกอบธุรกิจส่งออก
กฎระเบียบขั้นตอนการส่งออกรายสินค้า
ความรู้เกี่ยวกับพาณิชยือิเล็กทรอนิกส์
โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยสู่การทำธุรกิจในต่างประเทศ