หน่วยที่ 1 แนะนำการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์




พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

       พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  คือ การทำการค้าขายและธุรกรรมซื้อขายผ่านทางระบบออนไลน์  หรือทางอินเตอร์เน็ตนั่นเอง  ซึ่งสามารถขายสินค้าได้ทุกที่ที่อินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงโดยไม่ต้องเช่าพื้นที่หน้าร้านในแหล่งชุมชนซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงและช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก อีกทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อจากทั่วโลกได้มีโอกาสพบเห็นสินค้าของคุณ สำหรับผู้ซื้อช่วยให้สะดวกสบายไม่ต้องเดินทางฝ่ารถติดไปซื้อสินค้าจากหน้าร้านค้าโดยตรงเพียงเลือกสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตอยู่ที่บ้านชำระเงินผ่านระบบที่น่าเชื่อถือ และรอสินค้ามาส่งถึงที่บ้าน
      ในกรณีที่ใช้บริการเปิดร้านค้าออนไลน์จากเว็บไซต์ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านจริงๆ ก็ได้ สามารถตั้งชื่อร้าน รวมไปถึงกำหนดชื่อเว็บไซต์ของคุณเอง (URL)สามารถตกแต่งป้ายร้านค้า ออนไลน์ สีสันของหน้าร้าน จัดหมวดหมู่ของสินค้า ตั้งราคาสินค้า ลงรูปสินค้า ไปจนถึงการจัดโปรโมชั่นพิเศษต่างๆ ของร้าน ได้อย่างอิสระและสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านี้ได้ตลอดเวลา

ความหมายของอิเล็กทรอนิกส์
   พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า   บริการการชำระเงิน การโฆษณา โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต
          กรมส่งเสริมการส่งออกกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หมายถึง การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านและระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์
         องค์กรการค้าโลกให้คำจำกัดความไว้ว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึงการผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ 

E-Commerce คืออะไร    
        Electronic Commerce หรือ E-Commerce คือ การซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยส่งข้อมูลด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเครือข่าย เช่น Internet ถ้าผู้ใช้มีเครื่องคอมพิวเตอร์ คู่สายโทรศัพท์ โมเด็ม และเป็นสมาชิกของบริการ Internet ก็สามารถทำการค้าผ่านระบบเครือข่ายได้
        E-Commerce เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี Internet กับการจำหน่ายสินค้าและบริการโดยสามารถนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้าหรือบริการผ่านทาง Internet สู่คนทั่วโลกภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ทำให้การดำเนินการซื้อขายอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดรายได้ในระยะเวลาอันสั้น
      E-Commerce ใช้ติดต่อกับลูกค้าได้หลายระดับ ธุรกิจกับลูกค้าธุรกิจกับธุรกิจ ธุรกิจกับภาครัฐฯ สาระของการติดต่อจะมี 4 ประการ คือ
           1การขาย รวมการโฆษณา แสดงสินค้า เสนอราคา สั่งซื้อ คำนวณราคา
           2. การชำระเงิน การตกลงวิธีชำระเงิน สั่งโอนเงิน ให้ข้อมูลบัญชีธนาคารที่ใช้ตัดบัญชี ตลอดจนเงินดิจิทัลรูปแบบใหม่ๆ
           3การขนส่ง แจ้งวิธีการส่งมอบของ ค่าขนส่ง และสถานที่ติดต่อและระบบติดตามสินค้าที่ส่ง 
           4บริการหลังการขาย การติดต่อภายในบริษัท เช่นระบบบัญชี คลังสินค้าระบบสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบสั่งผลิต ตลอดจนบริการลูกค้าหลังการ

บทบาทภาครัฐกับ E-Commerce 
            เนื่องจากการทำธุรกิจดังกล่าวมีการแข่งขันกันร้อนแรง ส่วนใหญ่อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นไปได้ที่คู่ค้าอาจไม่เคยรู้จักติดต่อกันมาก่อน ปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากภาครัฐได้แก่ แผนกลยุทธ์การค้าอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ เพื่อมิให้เสียเปรียบเชิงการค้าในระดับโลก โครงสร้างการสื่อสารที่ดีและเพียงพอ กฎหมายรองรับข้อมูลและหลักฐานการค้าที่ไม่อยู่ในรูปเอกสาร ระบบความปลอดภัยข้อมูลบนเครือข่ายและระบบการชำระเงิน 
            E-Government เป็นอีกมิติหนึ่งของการให้บริการภาครัฐออนไลน์ที่จะเอื้อให้ธุรกิจ ประชาชน ติดต่อใช้บริการในกรอบบริการงานแต่ละด้านของส่วนราชการต่างๆ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยให้บริการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์แก่สถาบันการเงิน กรมทะเบียนการค้าให้บริการจดทะเบียนการค้า เป็นต้น นอกจากนี้ การทำ E-Procurement เพื่อการจัดซื้อจัดหาภาครัฐก็เป็นบริการที่ควรดำเนินการ เพราะจะช่วยให้เกิดความโปร่งใส ละเป็นไปตามกรอบนโยบายของที่ประชุมเอเปกด้วย

รูปแบบการทำธุรกิจของ E-Commerce

      1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business: B2B) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน ตัวอย่างเช่นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้ หรือผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นำเข้าผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มีความสำคัญมากที่สุด ตัวอย่าง Website เช่น 
บริษัทไมโครซอฟต์เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ (www.micorsoft.com) บริษัทซิสโกเป็นบริษัทขายอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์ทางด้านเครือข่ายอื่นๆ โดยขายผ่านเว็บแบบธุรกิจต่อธุรกิจ (www.cisco.com) ขายส่งสินค้าอุปโภคบริโภค (http://www.tesco.co.th/th/index.html) ขายสินค้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ(http://www.value.co.th/th/main.asp) และ ตลาดซื้อขายออนไลน์ (http://www.b2bthai.com/) เป็นต้น
      2. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer: B2C) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (electronic retailing) เราสามารถแบ่งระดับของกิจกรรมของ คือ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 5 ระดับดังต่อไปนี้คือ การโฆษณาและแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic showcase) เพียงอย่างเดียว, การสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic ordering) สามารถสั่งซื้อได้, การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic payment) สามารถชำระเงินได้, การจัดส่งและบริการหลังการขายด้วยอินเทอร์เน็ต (Electronic delivery and service) สามารถจัดส่งและบริการหลังการขายได้ และ การทำธุรกรรมและการแลกเปลี่ยนทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic transaction) สามารถทำการแลกเปลี่ยนได้ ตัวอย่าง Website เช่น 
บริการผู้ขายปลีกสินค้าผ่านเว็บไซต์โดยทำการขายหนังสือไปทั่วโลก (www.amazon.com) บริการการจองตั๋วเครื่องบินของบริษัทการบินไทยผ่านเว็บไซต์ (www.thaiair.com) ขายเครื่องประดับ (http://www.abcjewelry.com/) และ ขายอาหาร(http://www.pizza.co.th/) ขายหนังสือ (http://www.se-ed.com)เป็นต้น
      3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government: B2G) หมายถึง ธุรกิจการบริหารการค้าของประเทศเพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น การเผยแพร่ข้อมูลเพื่อการเปิดประมูลผ่านทางเครือข่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ (government procurement), การจดทะเบียนการค้า, การรายงานผลการประกอบการประจำปี, การสืบค้นเครื่องหมายการค้า หรือสิทธิบัตรผ่านทางเครือข่าย เป็นต้น ตัวอย่าง Website เช่น
การประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ (www.mahadthai.com) และ ระบบอีดีไอในพิธีการกรมศุลกากร (www.customs.go.th) 
      4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer: C2C) หมายถึง ธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย อาทิ การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ตัวอย่าง Website เช่น เป็นแหล่งที่ผู้ขายมาเสนอขายและผู้ซื้อประมูลซื้อแข่งกันผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันผ่านอีเมล์ (www.ebay.com) ประกาศขายสินค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ มีการลงทะเบียนเป็นสมาชิก สามารถจัดส่งสินค้าได้ (www.pantipmarket.com) และขายของมือสอง (http://www.thaisecondhand.com) เป็นต้น
ความปลอดภัยกับ E-Commerce   
        ระบบความปลอดภัยนับเป็นเรื่องที่โดดเด่นที่สุด และมีเทคโนโลยีความปลอดภัยคือ Public Key ซึ่งมีองค์กรรับรองความถูกต้องเรียกว่า CA (CertificationAuthority) ระบบนี้ใช้หลักคณิตศาสตร์คำนวณรหัสคุมข้อความจากผู้ส่งและผู้รับอย่างเฉพาะเจาะจงได้ จึงสามารถพิสูจน์ตัวตนของผู้รับผู้ส่ง
(Authentication) รักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Confidentiality) ความถูกต้องไม่คลาดเคลื่อนของข้อมูล (Integrity) และผู้ส่งปฏิเสธความเป็นเจ้าของข้อมูลไม่ได้ (Non-repudiation)เรียกว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature)
         ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการมีกฎหมายรองรับการทำธุรกรรมบนเครือข่ายประเทศในยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายรองรับการทำธุรกิจดังกล่าว สำหรับในประเทศไทยก็เร่งจัดการออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ฉบับ โดยกฎหมาย 2 ฉบับแรกที่จะออกใช้ได้ก่อนคือ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์                             

การชำระเงินบน E-Commerce Commerce
            จากผลการวิจัยพบว่า วิธีการชำระเงินที่สำคัญสำหรับกรณีธุรกิจกับธุรกิจ ร้อยละ 70 ใช้วิธีหักบัญชีธนาคาร ขณะที่ ธุรกิจกับผู้บริโภคร้อยละ 65 ชำระด้วยบัตรเครดิต
            สำหรับในประเทศไทย ผลการสำรวจพบว่าผู้สั่งสินค้าบนอินเทอร์เน็ตร้อยละ 40-60 ใช้บัตรเครดิต อีกร้อยละ 40 ใช้วิธีโอนเงินในบัญชี ซึ่งหมายความรวมถึง Direct Debit, Debit Card และ Fund Transfer เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ระบบการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต มีแนวทางการพัฒนาเพื่อบริการชำระเงินดังนี้
            1บริการ internet banking และ/หรือธุรกิจประเภท PaymentGateway จะเป็น hyperlink ระหว่าง website ของร้านค้ากับระบบของธนาคารและธนาคารสามารถดำเนินการตามข้อมูลที่ได้รับเพื่อตัดโอนเงินในบัญชีของลูกค้าหรือส่งเป็นคำสั่งโอนเข้าระบบการชำระเงินระหว่างธนาคารที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน 
            2สำหรับการชำระเงินที่เป็น Micro Payment การใช้เงินดิจิทัลซึ่งบันทึกบนบัตรสมาร์ตการ์ด หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสร้างเสริมระบบความปลอดภัยให้มั่นใจได้เหนือกว่าระบบบัตรเดบิตและบัตรเครดิตทั่วไป จึงเป็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่น่าสนใจและเหมาะสม

ความสำคัญของ  E-Commerce 
         คือ การประยุกต์สื่ออินเตอร์เน็ตมาใช้ในการดำเนินธุรกิจการค้า หรือเรียกว่า พณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่นิยมกันมาก  ณ  ปัจจุบันคือ   การซื้อขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต การหันมาใช้เว็บสื่อกลางทางการค้ามากยิ่งขึ้นเป็นสื่อกลางในการรวบรวมสินค้าและผู้ซื้อผู้ขายไว้ในเว็บไซต์เดียวเพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อซื้อ-ขาย ทำให้การค้นหาข้อมูลเป็นเรื่องที่ง่ายและสามารถจำกัดขอบเขตข้อมูลให้ตรงตามความต้องการมากยิ่งขึ้น ตามการจัดกลุ่มสินค้าของผู้ให้บริการแหล่งข้อมูลออนไลน์นั้นๆ
      E-Commerce จึงเป็นเสมือนสื่อกลางในการโฆษณาและเชื่อมโยงข้อมูล หรือความต้องการของผู้ใช้งานไปยังกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายโดยตรงพร้อมทั้งสามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดย่นเวลาในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดทำให้สามารถขยายตลาดได้อย่างรวดเร็วทวีคูณ




ประโยชน์ของ e - commerce 
      1. เพิ่มโอกาสทางการตลาด
           1.1 ขยายโอกาสในการเข้าถึงตลาด เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายมากยิ่งขึ้น
           1.2 สนองความต้องการของตลาด และขยายตลาดได้อย่างรวดเร็ว
           1.3 นำเทคโนโลยีมาใช้ สร้างผลกำไรแก่องค์กร ตามทันสื่อการตลาดยุคใหม่
           1.4 เพิ่มโอกาสโลกตลาดออนไลน์ รู้ทันพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน
           1.5 สามารถเก็บข้อมูลลูกค้าเพื่อการทำการตลาดทางตรง
           1.6 สร้างการรับรู้ได้อย่างรวดเร็ว ย่นระยะเวลาการนำสินค้าเข้าสู่ตลาด           
           1.7 เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน สะดวกในการค้นหาข้อมูลและติดต่อซื้อ-ขาย
           1.8 นำเสนอข้อมูลสินค้าได้เป็นจำนวนมาก และสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ในลักษณะ Interactive Market (การตลาดเชิงตอบโต้)
           1.9 เพิ่มโอกาสทางการตลาดในการบริหารข้อมูลลูกค้าจากระบบอิเล็กทรอนิกส์
           1.10 ปรับปรุงหรือ Update ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ตลอดเวลา

     2. ลดต้นทุนในการจัดซื้อ
          2.1 ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นราคาสินค้า ตลอดจนค่าใช้จ่ายในกระบวน
           2.2 การซื้อที่ลดลง
           2.3 สามารถควบคุมขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างได้ ขั้นตอนไม่ซับซ้อนสะดวกและรวดเร็วขึ้น
           2.4 สามารถเลือก ผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายสินค้าและบริการได้อย่างหลากหลายประหยัดเวลาในการเปรียบเทียบสินค้าและผู้ขายเป็นผลให้ได้สินค้าคุณภาพดี และราคาเป็นที่น่าพอใจ ตรงกับความต้องการที่สุด

     3สนับสนุนการซื้อ – ขาย   
         3.1  มีระบบค้นหาสินค้าจาก “คำค้นหาสินค้า” และช่องทางการเข้าถึงข้อมูลทางสารบัญข้อมูล” แบ่งออกเป็นหมวดหมู่และประเภทอย่างชัดเจน เพื่อความสะดวกในการค้นหาเลือกดูสินค้า หรือบริษัทได้ตามความต้องการ
           3.2  ระบบผู้ติดต่อ  และระบบข้อความทางหน้าเว็บไซต์ เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
           3.3 ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลของผู้เข้าชมเว็บไซต์จำนวนมากสามารถมองเห็นสินค้าและบริษัทของคุณได้อย่างง่ายดาย ผ่านทางหน้าเว็บไซต์
           3.4 สามารถทำกำไรได้มากกว่าระบบการซื้อ-ขายแบบเดิม เนื่องจากต้นทุนการจัดซื้อและจัดจำหน่ายต่ำกว่าทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลงและกำไรจากการขายต่อหน่วยเพิ่มขึ้น

    4ส่งเสริมการขายการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
          4.1 ลดต้นทุนการส่งเสริมการตลาด โฆษณาและประชาสัมพันธ์ เช่น ลดต้นทุนการโฆษณาผ่านสื่อปกติอื่นๆ ลดต้นทุนการจัดกิจกรรมทางการตลาดซึ่งสามารถใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์บริหารจัดการได้
           4.2 สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจหรือองค์กร ในเรื่องของความทันสมัย และเป็นโอกาสที่จะทำให้สินค้าหรือบริการเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็วในวงกว้าง

    5. ลดการใช้ทรัพยากร
           5.1 ลดเวลาในการหาข้อมูลสินค้าหรือผู้ขาย และย่นเวลาในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาด
           5.2 ลดขั้นตอนทางการตลาด
           5.3 ลดพลังงานในการเดินทาง
           5.4 ลดการใช้ทรัพยากรด้านองค์ประกอบทางธุรกิจ เช่น พื้นที่การขาย อาคารประกอบการ ทำเลที่ตั้ง โกดังเก็บสินค้า เป็นต้น
           5.5 ลดต้นทุนด้านช่องทางจำหน่ายในรูปแบบร้านค้าค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร รวมทั้งค่าเช่าพื้นที่ขายหรือการลงทุนในการสร้างร้านซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนของธุรกิจต่ำลง


แรงผลักดันให้มีการพัฒนา E-Commerce
            E-Commerce เกิดขึ้นจากความต้องการประสบความสำเร็จของธุรกิจ ซึ่งความสำเร็จของธุรกิจไม่ได้ขึ้นอยู่กับการดำเนินงานภายในองค์กรเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกด้วย เช่น สภาพเศรษฐกิจ สังคม คู่แข่งและเทคโนโลยี เป็นต้น ในที่นี้จึงขอจำแนกแรงผลักดันให้มีการพัฒนา E-Commerce ออกเป็น 2 ประการ คือ

          1. การปฏิวัติสู่ยุคดิจิตอล                                                                
           เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิด E-Commerce ดังจะเห็นได้จากการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน  ไม่ว่าจะเป็นการสนทนา   ติดต่อสื่อสาร   หรือการค้นหาข้อมูลล้วนนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ทั้งสิ้น เรียกว่า เศรษฐกิจแบบดิจิตอล
            เศรษฐกิจแบบดิจิตอล  หมายถึง  การทำเศรษฐกิจที่มีพื้นฐาน  จากการนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้งาน ได้แก่ เครือข่ายการติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอล เช่นคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น
           2. สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (Business Environment)
            หมายถึง ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร ซึ่งแบ่งออกเป็น ประการ
                    1. แรงผลักดันทางการตลาดและสภาพเศรษฐกิจ (Market and Economic Pressure) เช่น ความรุนแรงของการแข่งขันในตลาด การรวมกลุ่มทางการค้า หรืออำนาจในการต่อรองของลูกค้า
                    2. แรงผลักดันทางสังคม (Societal Pressure) เช่น กฎหมายหรือนโยบายทางรัฐที่ส่งผลต่อธุรกิจ ความรับผิดชอบต่อสังคม จรรยาบรรณทางธุรกิจ
                    3. แรงผลักดันทางเทคโนโลยี (Technology Pressure) เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เทคโนโลยีที่มีอยู่ล้าสมัยเร็วกว่าอายุการใช้งานจริง

 แบบจำลองทางธุรกิจของ E-Commerce




         แบบจำลองทางธุรกิจ (Business Model) หมายถึง วิธีการดำเนินธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้อันจะทำให้บริษัทสามารถดำรงอยู่ได้ นอกจากนี้ ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการด้วย ซึ่ง กิจกรรมเหล่านี้สามารถวิเคราะห์ได้จากตัวแบบห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain Model)
 โครงสร้างของแบบจำลองทางธุรกิจ
            1. Value Proposition เป็นหัวใจสำคัญของแบบจำลองทางธุรกิจ
            2. Revenue Model
            3. Market Opportunity
            4. Competitive Environment
            5. Competitive Advantage
            6. Market Strategy
            7. Organization Development
            8. Management Team

 แบบจำลองทางธุรกิจของ E-Commerce
            1. การตลาดขายตรงออนไลน์ (Online Direct Marketing) เป็นแบบจำลองที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยเป็นแบบจำลองที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์
            2. การประมูลออนไลน์ (Online Auction) เป็นแบบจำลองที่ผู้สนใจเข้าไปยื่นเสนอราคาประมูล เพื่อซื้อสินค้าจากผู้ขายผ่านระบบออนไลน์
            3. ระบบการยืนประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic TenderingSystem) เป็นแบบจำลองที่ใช้กับผู้ซื้อที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีมูลค่าการซื้อจำนวนมาก
            4. การตลาดออนไลน์โดยใช้ตัวแทนเพื่อโฆษณาสินค้า (Affiliate Marketing)เป็นแบบจำลองที่เป็นการทำธุรกิจร่วมกันระหว่างผู้ขายสินค้าและบริษัทตัวแทนรับฝากโฆษณา โดยการฝากชื่อลิงค์ของบริษัทผู้ขาย
            5. การรวมกลุ่มกันซื้อ (Group Purchasing) เป็นแบบจำลองที่ใช้เพื่อเป็นข้อต่อรองในการซื้อขายสินค้า โดยการรวมกลุ่มกันซื้อเพื่อให้ได้ส่วนลด
            
6. การสั่งทำสินค้าและบริการ (Product and Service Customization) เป็นแบบจำลองที่อนุญาตให้ลูกค้าสามารถสั่งทำสินค้าและบริการตามที่ต้องการได้ผ่านทางเว็บไซต์
            7. การสมัครสมาชิก (Membership) เป็นแบบจำลองที่ให้สิทธิพิเศษสำหรับผู้ที่สมัครเป็นสมาชิก
            8. การกำหนดราคาที่ต้องการด้วยตนเอง (Name Your Own Price) เป็นแบบจำลองที่ผู้ซื้อสามารถกำหนดราคาสินค้าและบริการตามวงเงินที่ตนเองมีอยู่
            9. บล็อกและชุมชนเพื่อการติดต่อสื่อสาร (Communication and Blogging) เป็นแบบจำลองที่นำเครือข่ายการติดต่อสื่อสารมาใช้ประโยชน์ทางการค้า

ข้อดี - ข้อเสีย ของ E-Commerce        
             คือ การดำเนินธุรกิจการค้าหรือการซื้อขายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต โดยผู้ซื้อ(Customer) สามารถดำเนินการเลือกสินค้า คำนวณเงิน ตัดสินใจซื้อสินค้า โดยใช้วงเงินในบัตรเครดิต ได้โดยอัตโนมัติ ผู้ขาย (Business) สามารถนำเสนอสินค้าตรวจสอบวงเงินบัตรเครดิตของลูกค้า รับเงินชำระค่าสินค้า ตัดสินค้าจากคลังสินค้า และประสานงานไปยังผู้จัดส่งสินค้า โดยอัตโนมัติ กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินการเสร็จสิ้นบนระบบเครือข่าย Internet

 ข้อดีของ E-Commerce
            1ลดค่าใช้จ่าย การใช้ค่าใช้จ่ายในการทำเว็บไซต์นั้นมีต้นทุนที่ตำมากเมื่อเทียบกับธุรกิจในระดับต่างๆ  เว็บไซต์บางเว็บก็มีระบบการสร้าง  ร้านค้าออนไลน์ให้ฟรีโดยเราสามารถจัดการข้อมูลได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องจ้างพนักงานจำนวนมาก ใช้งานได้ง่ายก็จะเป็นการเพิ่มความเชื่อถือให้กับผู้ประกอบการได้มากยิ่งขึ้น
            2สามารถบริการลูกค้าได้อาทิตย์ละ 7 วัน วันละ 24 ชั่วโมงลูกค้าสามารถเข้ามาเลือกชมสินค้าและบริการได้ตลอดเวลาและสามารถสั่งซื้อสินค้าได้ทุกเวลาอีกด้วย
            3มีระบบชำระค่าสินค้าและบริการผ่านบัตรเครดิต ลูกค้ามักสามารถตัดสินใจซื้อได้ทันทีและถือเป็นความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้า
            4จัดการข้อมูลลูกค้า สินค้าและบริการ ได้อย่างง่ายดาย เช่น การเพิ่ม การลดลงของสินค้า ราคา เราสามารถกำหนดได้ทันทีและสามารถทำได้ทุกที่ที่อินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงได้
            5ร้านค้าออนไลน์ในปัจจุบันนั้นมีลูกเล่นเยอะมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงภาพเคลื่อนไหว รวมถึงมีเว็บบอร์ดทำให้สามารถถามตอบปัญหาให้กับลูกค้าได้และลูกค้าบางคนก็สามารถให้ความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกค้าใหม่ของเราได้
            6ชื้อร้านค้าหรือโดเมนของร้านค้าที่ดีจะสามารถเป็นที่จดจำให้แก่ลูกค้าได้มากกว่าเบอร์โทรศัพท์ทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อกับเราได้ง่าย
            7ระบบเว็บไซต์มีข้อมูลสถิติผู้เข้าชมและสามารถนำมาวิเคราะห์ป้วนการตลาดได้ในอนาคต
            8สร้างภาพพจน์ให้กับธุรกิจทำให้ลูกค้าเห็นว่าเราเป็นองค์กรที่ทันสมัยและไม่ตกยุคยังมีข้อดีอื่นๆ อีกมากมาย คราวนี้มาดูข้อเสียบ้างครับ


 ข้อเสียของ E-Commerce
          1.  ความไม่ปลอดภัยของข้อมูล ข้อมูลบนบัตรเครดิตอาจถูกดักฟังหรืออ่านเพื่อเอาชื่อและหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้โดยที่เจ้าของบัตรเครดิตไม่รู้ได้การส่งข้อมูลจึงต้องมรการพัฒนาวิธีการเข้ารหัสที่ซับซ้อนหลายขั้นตอนเพื่อให้ข้อมูลของลูกค้าได้รับความปลอดภัยสูงสุด
        2. ประเทศไทยยังไม่มีธนาคารที่จะแบกรับความเสี่ยงสำหรับการชำระเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์และปัจจุบันก็ยังมีการใช้บริการผ่านธนาคารของต่างประเทศอยู่แต่ทุกวันนี้ก็เริ่มมีธนาคารในเมืองไทยได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน
         3. ปัญหาความยากจนและยังเข้าถึงอินเตอร์เน็ตยังไม่สามารถกระจายข้อมูลได้บางบริเวณ
         4.  E-Commerce ยังมีประเด็นเชิงนโยบายที่ทำให้รัฐบาลต้องเข้ามากำหนดมาตรการเพื่อให้ความคุ้มครองกับผู้ซื้อและผู้ขาย ขณะเดียวกันมาตรการมนเรื่องระเบียบที่จะ กำหนดขึ้นต้องไม่ขัดขวางการพัฒนาเทคโนโลยี
       5.  ผู้ซื้อไม่มั่นใจเรื่องการเก็บรักษาความลับทางธุรกิจ ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ไม่มั่นใจว่าจะมีผู้นำหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้ประโยชน์ในทางที่มิชอบหรือไม่
      6.  ผู้ขายไม่มั่นใจว่าลูกค้ามีตัวตนอยู่จริง จะเป็นบุคคลเดี่ยวกับที่แจ้งสั่งซื้อสินค้าหรือไม่ มีความสามารถในการที่จะจ่ายสินค้าและบริการหรือไม่ และไม่มั่นใจว่าการทำสัญญา ซื้อขายผ่านระบบE-Commerce จะมีผลถูกต้องตามกฎหมาหรือไม่
       7.  E-commerce นั้นขึ้นอยู่กับการจัดการธุรกิจที่ดีด้วยเพราะการนำระบบนี้มาใช้ไม่ควรทำตามกระแสนิยมและไม่สามารถให้บริการลูกค้าได้ก็เป็นการเสียผล ประโยชน์หรือการ เสียต้นทุนโดยไม่จำเป็น