หน่วยที่ 3 ระบบการชำระเงินในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์



         การสื่อสารยุคปัจจุบันสามารถสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็วไร้ขอบเขตจากัด องค์กรที่มีเทคโนโลยีการ สื่อสารที่ทันสมัยย่อมได้เปรียบในเชิงการแข่งขันและประสบความสำเร็จได้เร็ว การสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI) เป็นกลยุทธ์การสื่อสารอีกประเภทหนึ่งซึ่งหลายองค์กร ได้นำมาใช้ ทาให้การสื่อสารสะดวกรวดเร็ว ประหยัดงบประมาณในเรื่องการใช้กระดาษและการขนส่ง ซึ่งนำไปสู่การลดต้นทุนทางธุรกิจ แถมประหยัดขั้นตอนในดำเนินงานยุ่งยากออกไป และระบบ EDI เป็นรากฐาน ในการพัฒนาไปสู่การทาธุรกิจ E-commerce การทำธุรกรรมแบบ E-Commerce ในปัจจุบันครอบคลุมในการ ดำเนินธุรกิจแทบทุกด้าน ทั้งธุรกิจอุตสาหกรรม และธุรกิจบริการเช่น ประกันภัย สุขภาพ การท่องเที่ยว รวม ไปถึงการซื้อขายสินค้าผ่านระบบอิเลคทรอนิคส์ ความหมายของ E-Commerce นั้น ครอบคลุมไปทั้ง การตลาด การแลกเปลี่ยนสัญญา การสนับสนุนระบบการจัดส่ง การจ่ายเงินรวมไปถึงการติดต่อกับหน่วยงาน ของรัฐเช่น สรรพากรเป็นต้น ดังนั้นการใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบเดิมมาใช้อาจไม่มีประสิทธิภาพตามที่ ต้องการได้อีกต่อไป เพราะe-Commerce ในปัจจุบันจะต้องรองรับการสื่อสารทุกอย่างตั้งแต่ผู้ซื้อไปจนถึง ผู้ขายได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และเนื้อหาในบทนี้จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับEDI และ ระบบการชำระเงินใน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 

ความหมายและพัฒนาการของการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
        EDI (Electronic Data Interchange) คือ ระบบการแลกเปลี่ยนเอกสารทางธุรกิจระหว่างบริษัทคู่ค้า 
ในรูปแบบมาตรฐานสากลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งช่วยให้ เกิดการถ่ายโอนแบบอิเล็กทรอนิกส์สาหรับงานเอกสารที่ใช้เป็นประจา (Routine Document)ระหว่าง พันธมิตรทางธุรกิจต่างๆ ได้แก่ ใบสั่งซื้อสินค้า บัญชีราคาสินค้า ใบส่งของ ใบยืนยันการซื้อขายระหว่างคู่ค้ารายงานฯลฯ ภายใต้มาตรฐานที่กำหนดไว้ 
       การรับ/ส่งเอกสารข้อมูลดังกล่าว จะถูกกระทำภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยระดับหนึ่ง เพื่อป้องกัน มิให้คู่แข่งทางการค้าสามารถดึงข้อมูลของตนเองไปใช้ได้ ซึ่งหากมีการใช้EDI ในกิจกรรม ต่าง ๆ อย่างครบ วงจรแล้ว จะช่วยให้ไม่ต้องอาศัยเอกสารต้นฉบับที่ต้องตรวจสอบ โดยพนักงานหรือป้อนข้อมูลซ้ำอีก ซึ่งสามารถสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจเปลี่ยนแปลงจากการทาธุรกิจที่ต้องใช้เอกสารเป็นพื้นฐานนำไปสู่การทำธุรกิจ ภายใต้สื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่จำเป็นต้องใช้กระดาษอีกต่อไป 
       การนำระบบ EDI มาใช้จะทำให้เกิดการตรวจสอบเอกสารระหว่างต้นทางและปลายทางเป็นไปได้ อย่างรวดเร็วลดปัญหาการตรวจเช็คโดยเจ้าหน้าที่ ระบบ EDI เป็นระบบสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย โดยผ่านระบบเครือข่ายสื่อสารหรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยมีการจัดทำฐานข้อมูลและกำหนดรูปแบบของเอกสารที่ใช้ร่วมกัน เพื่อให้เป็นมาตรฐาน และสามารถใช้งานได้อย่างกว้างขวาง ทั้ง ภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งการใช้ EDI มีลักษณะสาคัญดังนี้ เป็นระบบการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้แทนเอกสารที่เป็นกระดาษ
      การใช้รหัส (CODE) มาใช้แทนข้อมูลเพื่อให้เกิดระบบสื่อสารทางการค้าที่ทั่วโลกสามารถอ้างอิงถึงสิ่ง หนึ่งได้โดยใช้รหัสเดียวกัน การกำหนดหมายเลขประจำตัวสินค้าตามมาตรฐานสากลของ EAN-13, ITF-14, UCP ฯลฯ 
     โครงสร้างข้อมูลในการรับส่งระหว่างคู่ค้า ทั้งผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีโครงสร้างของ EDI ที่แน่นอน 
    การแลกเปลี่ยนระบบงานระหว่างคอมพิวเตอร์โดยตรง โดยที่แต่ละหน่วยงานมีระบบงานที่ สอดคล้องกัน โดยอาศัย Translate Software ที่แปลง Text เป็น EDI ทำให้เกิดความสะดวกต่อธุรกิจในการ ที่ไม่ต้องปรับเปลี่ยนระบบงานฐานข้อมูลเดิมของตนเอง โดยใช้ได้ทั้งผ่าน EDI VAN และ EDI Internet ที่ใช้ ข้อมูล “XML” ทำให้สะดวกและประหยัด 
     มาตรฐานข้อมูลเดียวกันเพื่อสามารถตรวจสอบการใช้ได้อย่างสมบูรณ์ถูกต้อง เอกสารจะต้อง สอดคล้องกับมาตรฐาน ซึ่งการกำหนดมาตรฐานของเอกสาร EDI จะมีการกำหนดรูปแบบของโครงสร้าง ซึ่ง ส่วนใหญ่จะใช้มาตรฐาน UN/EDIFACT 
      เอกสารทางธุรกิจที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ สามารถทดแทนด้วยเอกสาร EDI ได้ทั้งหมด เช่นเอกสาร ทางด้านการจัดซื้อ ได้แก่ ใบสั่งซื้อ (Purchase Order) ใบแจ้งหนี้ (Invoice) ใบเสนอราคา (Quotation) ใบ แจ้งราคาสินค้า (Price/Sales Catalogue) เป็นต้น 
       เอกสารทางด้านการเงินได้แก่ ใบสั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน (Payment Order) ใบแจ้งการสั่งจ่าย (RemittanceAdvice) เป็นต้น 
       เอกสารทางด้านการขนส่ง ได้แก่ ใบตราส่ง (Bill of Lading) ใบจองตู้สินค้า (Booking) แผนผังการ 
       บรรทุกสินค้าภายในเรือ (Bayplan) ใบสั่งปล่อยสินค้า (Delivery Order) เป็นต้น 
       เอกสารทางด้านการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ ใบขนสินค้า (Customs Declaration) บัญชีตู้สินค้า (Manifest) เป็นต้น 

องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ EDI 
องค์กรและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ EDI คือ 
       1. End User ผู้ที่มีหน้าที่ในการรับส่งเอกสารผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (ผู้ประกอบการ)เอกสารธุรกิจที่ รับส่ง โดยผ่านทางระบบ EDI นั้น จะต้องผนึกด้วยซองอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นซองที่ได้รับมาตรฐานของการใช้ 
รับส่ง และแลกเปลี่ยนเอกสารธุรกิจผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก หรือที่สากลให้ การยอมรับในนามของ UN/EDIFACT 
      2. Value Added Networks ( VANS ) ผู้ที่มีหน้าที่ให้บริการทางด้านการรับส่งเอกสารทาง อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเปรียบเสมือนกับศูนย์ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ประจำเขตต่าง ๆ ที่ยินดีให้การบริการ 
      3. EDIGateway เป็นศูนย์กลางในการคัดแยกเอกสารทำหน้าที่ในการคัดแยก และนำส่งเอกสาร ผ่านไปยังจุดหมายปลายทาง รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการต่อเชื่อมระบบไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจ นำเข้า และส่งออกซึ่ง เปรียบเสมือนกรมไปรษณีย์กลางอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งประจำการเพื่อเป็นศูนย์กลางในการ ต่อเชื่อมระบบของการรับ – ส่ง และแลกเปลี่ยนเอกสารธุรกิจกับหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ที่มีส่วน เกี่ยวข้องในวัฏจักรการดาเนินงานธุรกิจทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนจากต้นทาง (ผู้ส่ง) ไปยังปลายทาง (ผู้รับ) 

ขั้นตอนการทำงานของระบบ EDI 
      การทำงานตามขั้นตอนของระบบ EDI นี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรต่าง ๆ จะต้อง มีส่วนการสื่อสารเป็นระบบเปิด คือเป็นระบบซึ่งใช้ฮาร์ดแวร์ (Hardware)และซอฟแวร์ (Software) ที่ไม่ปิดกั้น การติดต่อจากโลกภายนอก โดยการใช้มาตรฐานที่เป็นสากล เช่น UN/EDIFACT , IEEE , ACM , ISO เป็นต้น ซึ่งได้กำหนด และวางกฎเกณฑ์ของการส่งผ่าน หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ คอมพิวเตอร์ของทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องสามารถติดต่อ และรับ/ส่งข้อมูลกันได้โดยไม่จำกัดยี่ห้อของอุปกรณ์ 


แสดงการเชื่อมข้อมูลของผู้ประกอบการในระบบ Supply Chain ผ่าน EDI 

การแลกเปลี่ยนเอกสารธุรกิจในระบบอีดีไอ มีขั้นตอนการทางานระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ส่ง กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้รับ ดังนี้  
1. ผู้ส่งเอกสารอีดีไอ (SendingSystem)
    -  เริ่มต้นผู้ส่งต้องมีโปรแกรม (In House Application) สำหรับบันทึกข้อมูลของเอกสารต่าง ๆ เช่น invoice ใบขนสินค้า เป็นต้น โปรแกรมนี้ผู้ส่งอาจจะพัฒนาเองหรือซื้อที่เขาพัฒนาเสร็จ แล้วก็ได้ 
    -  ผู้ส่งบันทึกรายละเอียดของเอกสารต่าง ๆ เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ 
    -  ผู้ส่งตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วน ของข้อมูลที่บันทึกเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อีกครั้งก่อนที่จะส่งไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้รับ
     -  ผู้ส่งสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนส่งข้อมูลไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ของผู้รับเมื่อได้รับคำสั่ง เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ส่งก็จะทำการคัดแยกข้อมูล ที่ต้องการส่ง (Extracted Data) จากฐานข้อมูล (DBfile)ให้อยู่ในรูปที่พร้อมจะถูกแปลงเป็นเอกสารอีดีไอ 
    -  ซอฟแวร์อีดีไอ (Translation Software)จะทาการแปลงข้อมูลที่ต้องการส่งให้อยู่ในรูปของ เอกสารอีดีไอหรือที่เรียกว่า เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น EDIFACTFormat 
    -  จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของชุดคำสั่งสำหรับการติดต่อสื่อสารข้อมูล (Communication Protocolเช่น VAN Protocol หรืออื่น ๆ) ที่จะส่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ ให้บริการอีดีไอ

2. ผู้ให้บริการอีดีไอ (VANS: Value added NetworkSystem) เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการอีดีไอจะดำเนินการดังต่อไปนี้
      -  ตรวจสอบสิทธิการใช้บริการอีดีไอของผู้ส่ง เช่น ตรวจสอบรหัสผ่าน เป็นต้น 
      -  เมื่อได้รับข้อมูลจากผู้ส่งแล้วทำการแปลงข้อมูลจากมาตรฐานหนึ่ง ไปเป็นอีกมาตรฐานหนึ่งใน กรณีที่ผู้ส่ง และผู้รับใช้มาตรฐานอีดีไอแตกต่าง (Optional)
      -  ตรวจสอบข้อมูลว่าตรงตามมาตรฐานหรือไม่ (Optional) 
     -  นำเอกสารอีดีไอที่ได้รับจากผู้ส่ง ไปเก็บไว้ใน Mailbox (ตู้ไปรษณีย์) ของผู้รับ 

3. ผู้รับเอกสารอีดีไอ (ReceivingSystem) เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้รับจะดาเนินการดังต่อไปนี้ 
     -  ผู้รับติดต่อมายังเครื่องของผู้ให้บริการอีดีไอผ่านเครือข่ายสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ เพื่อรับ เอกสารที่อยู่ใน Mailboxของตน 
     -  อ่านเอกสารอีดีไอ (ในรูป ของ EDIFACT Format)จาก Mailboxของตน และส่งข้อความ ตอบรับแจ้งให้ผู้ส่งทราบว่าได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว 
     -  ซอฟแวร์อีดีไอ (Translation Software) จะทำการแปลงเอกสารอีดีไอให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้รับ เอาไปใช้งานภายในองค์กรได้
     -  เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้รับจะนาข้อมูลที่ผ่านการแปลงเรียบร้อยแล้ว (Deformated data) มาทาการประมวลผล และจัดเก็บลงในฐานข้อมูล (DB file) 
      การแลกเปลี่ยนเอกสารทางธุรกิจระหว่างองค์กรคู่ค้าในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเอกสารต้องมี รูปแบบมาตรฐานเดียวกันนั้นทำให้สามารถเชื่อมต่อเอกสารเข้าสู่ระบบขององค์กรได้ไม่ต้องทำการป้อนข้อมูล เข้าอีก โดย EDI จะทำการแลกเปลี่ยนเอกสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 แบบ คือ VAN (Value Added Network) และ Internet ซึ่งเครือข่ายทั้ง 2 แบบมีความแตกต่างกันดังนี้

รายการ
VAN
Internet
วิธีการส่งข้อมูล  ส่งผ่านผู้ให้บริการ EDI VAN ส่งผ่าน ISP ใดก็ได้ 
ความปลอดภัยของข้อมูลความปลอดภัยสูงความปลอดภัยปานกลาง
การตรวจสอบติดตามข้อมูล
มีระบบ Tracking ในการ ตรวจสอบติดตามทุกจุด จึงตรวจ ได้ว่ามีปัญหาจุดได้ จะแก้ไข อย่างไร
ISP ไม่มีระบบTracking ในการ ตรวจสอบติดตามทุกจุด
ความเร็วในการรับส่งข้อมูล
เวลาในการรับส่งข้อมูลแน่นอน และมีความเร็วมากกว่าส่งผ่านinternet
ความเร็วในการรับส่งข้อมูลไม่ แน่นอน 
ค่าใช้จ่ายในการลงทุนครั้งแรก
ต้องลงทุนเพิ่มในส่วน Translation Software
ไม่ต้องลงทุนเพิ่มมใช้อุปกรณ์
ค่าใช้จ่ายในการส่งแต่ละครั้ง
ค่าสมัคร EDI VAN และค่าส่งแต่ ละครั้งเชื่อมต่อ internet ค่าสมาชิก ISP 
การส่งข้อมูลคราวละมากๆ
เหมาะสำหรับการส่งข้อมูลคราวละ มากๆ
ไม่เหมาะสำหรับการส่งข้อมูลคราว ละมากๆเพราะข้อมูลอาจสูญหาย และใช้เวลาในการส่งนาน 
บริการตอบปัญหาในการใช้งาน
ผู้ให้บริการ EDI VAN มีบริการ ตอบปัญหาและให้คำแนะนำการใช้ งานตลอด 24 ชั่วโมง
ISP ไม่มีบริการลักษณะนี้

ประโยชน์โดยทั่วไปของระบบ EDI 
      ปัจจุบันได้มีการนาระบบ EDIมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นระบบที่สามารถให้ประโยชน์สูง ในการแข่งขันทางธุรกิจ ประโยชน์โดยทั่วไปของ EDIสามารถแบ่งได้เป็น ระดับ คือ 
      1. ประโยชน์ทางตรง ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับจัดการเอกสาร EDI ทำให้ธุรกิจสามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การจัดการเอกสาร ซึ่งเกิดขึ้นในระบบการค้าแบบเดิมที่ ทาการติดต่อกันด้วยเอกสารได้ ค่าใช้จ่ายส่วนที่ลดได้ อาทิ 
        ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารโดยตรง เช่น ค่าใช้จ่ายสาหรับเอกสาร และพนักงานใน กระบวนการรับเอกสาร การจับคู่เอกสาร การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในเอกสาร การคัดลอกเอกสาร 
การประมวลผล การออกเอกสารต่อเนื่อง การจัดเก็บเอกสาร และการส่งเอกสารไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายใน และภายนอกองค์กร 
        ค่าใช้จ่ายสาหรับความผิดพาดที่เกิดขึ้นในระบบเอกสาร เช่น ค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการสูญ หายของเอกสารระหว่างการเดินทาง และจากความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลจากเอกสารต้นฉบับ - ค่าใช้จ่ายสาหรับเวลาที่ใช้ในกระบวนการส่งข้อมูลด้วยเอกสาร เช่น เวลาที่ต้องรอในแต่ละขั้น ของการทางาน ในขบวนการจัดการเอกสาร และเวลาที่ใช้ในการส่งเอกสารระหว่างองค์กร 

      2. ประโยชน์ทางอ้อม เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทางธุรกิจ อันเกิดจากความถูกต้องของข้อมูลจากการใช้ EDI รวมทั้งวงจรธุรกิจที่สั้นลง สาหรับทุกขบวนการทางธุรกิจตั้งแต่การซื้อ การขาย จนกระทั้งถึง การรับเงินและจ่ายเงิน จะทาให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทางธุรกิจ ในส่วนต่าง ๆ เช่น
         -  ลดจานวนสินค้าคงคลัง
         -  กระชับความสัมพันธ์ระหว่างคู่ค้าทางธุรกิจ และสนับสนุนการใช้ระบบ JUST INTIME 
         -  พัฒนาบริการลูกค้า 
         -  พัฒนาการใช้เงินทุนหมุนเวียน 
         -  พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร และเพิ่มประโยชน์จากการใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน 

    3. ประโยชน์ทางกลยุทธ์ เป็นเครื่องมือสนับสนุนในการบรรลุถึงเป้าหมายองค์กร ประสิทธิภาพที่ เพิ่มขึ้นในกระบวนการทางธุรกิจ จากการใช้ EDI สามารถใช้เป็นเครื่องมือ ในการสนับสนุนให้เกิดผลตาม เป้าหมายขององค์กร ที่วางไว้ได้ เช่น การสร้างพันธมิตรทางการค้าใหม่ ๆ การเข้าสู่ตลาดใหม่ การออก ผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ การเป็นผู้นำในตลาด และความอยู่รอดขององค์กร 

กรณีศึกษา การใช้ระบบ EDI ในกรมศุลกากร 
หากเปรียบกับองค์กรที่เป็นเหมือนตัวเชื่อมเพื่อการส่งออกและนำเข้าอย่างศุลกากรแล้วประโยชน์ที่ ได้รับของการนำระบบ EDI มาใช้ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร มีดังนี้ 
       ช่วยลดระยะเวลาในการเดินพิธีการศุลกากร เช่น ไม่ต้องผ่านขั้นตอนการออกเลขที่ใบขนสินค้า หรือ 
เลขที่ยกเว้นอากร เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะออกเลขที่ใบขนสินค้า หรือเลขที่ยกเว้นอากรให้
      ช่วยลดความผิดพลาดในการคานวณค่าภาษีอากร เพราะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ตรวจสอบการ
คำนวณแล้ว
      กรณีใบขนสินค้าขาเข้า เจ้าหน้าที่ไม่ต้องบันทึกข้อมูลใบขนสินค้าทั้งฉบับ จะบันทึกข้อมูลบางไฟล์ 
เท่านั้น เพราะใบขนสินค้าได้ถูกส่งมายังกรมศุลกากรในระบบ EDI แล้ว - กรณีใบขนสินค้าขาออก จะลดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบลง
     มีระบบข้อมูลที่ Update ตลอดเวลา
     ลดต้นทุนในการบริหารระบบคงคลังสินค้า 
     กรมศุลกากรสามารถให้บริการระบบ EDI ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
     ระบบ EDI จะมีบริการให้ผู้ส่งออกสอบถามข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ของกรมศุลกากรได้อัตโนมัติ
เพื่อตรวจเช็คสินค้าที่นำเข้า และส่งออกว่าได้รับอนุมัติหรือยัง

ตารางแสดงข้อแตกต่างระหว่างพิธีการแบบ Manual (ดั้งเดิม) กับ แบบ EDIของกรมศุลกากร 
พิธีการแบบ Manual
พิธีการแบบ EDI
ตัวแทนออกของรับข้อมูล Invoice และเอกสารประกอบ อื่น ๆ จากผู้นาเข้า/ส่งออก เพื่อจัดทาใบขนสินค้า 
ตัวแทนออกของรับข้อมูล Invoice และเอกสารประกอบ อื่น ๆ จากผู้นำเข้า/ส่งออกเพื่อจัดทาใบขนสินค้า โดย ป้อนข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ของตนเอง หรือใช้บริการService Counter 
ยื่นใบขนสินค้าต่อเจ้าหน้าที่พิธีการ ตรวจสอบบัตรตัวอย่าง ลายมือชื่อเจ้าของหรือผู้จัดการ หรือผู้รับมอบอำนาจ ออก เลขที่ใบขนสินค้าตรวจสอบเอกสาร และลงนามรับรอง 
ส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ของ กรมศุลกากร โดยผ่านผู้ให้บริการ EDI (VAN) คอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร จะตรวจสอบข้อมลู เบื้องต้น เช่น เลขประจำตัวผู้นำเข้า /ส่งออก ชื่อเรือ เที่ยว เรือ โดยจะออกเลขที่ใบขนสินค้าให้
เจ้าหน้าที่ประเมินอากร ตรวจสอบพิกัดอัตราอากร ประเมินอากร คานวณ และสั่งการตรวจ 
การตรวจสอบพิกัดอัตรา และประเมินอากรกระทำโดย ตัวแทนออกของ ก่อนส่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ของกรมศุลกากร
นำใบขนสินค้าที่ผ่านพิธีการ และชำระอากรหรือเงิน ประ กัน ณ ที่ทำการศุล กากร 
นำใบขนสินค้าที่ผ่านพิธีการแล้ว ไปชาระอากรหรือเงิน ประกัน ณ ที่ทำการศุลกากร หรือชาระเงินด้วยระบบ EFT (Electronic Fund Transfer) 
นำใบขนสินค้าที่ผ่านพิธีการ และชำระอากรหรือเงิน ประกันแล้วไปที่คลังสินค้า ให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรกำหนดชื่อ เจ้าหน้าที่ผตู้รวจปล่อยสินค้า
นำใบขนสินค้าที่ผ่านพิธีการ และชำระอากรหรือเงิน ประกันแล้วไปที่คลังสินค้า ให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรกำหนด ชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสินคา้ ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดย อัตโนมัติ 
เจ้าหน้าที่ศุลกากรทาการตรวจปล่อยสินค้าตามปกติ
เจ้าหน้าที่ศุลกากรทำการตรวจปล่อยสินค้าตามปกติ หรือ ส่งมอบสินค้า หรือสลักรายการรับบรรทุก กรณีผู้นาเข้า/ ส่งออก เป็นระดับบตั รทอง (Gold Card) 

      จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) สามารถประหยัดงบประมาณ และเวลาได้มาก เพราะเอกสารสำหรับการซื้อขายสามารถส่งผ่านระบบสารสนเทศ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ได้อย่างสะดวกรวดเร็วตลอดจนสามารถส่งผ่านถึงการสื่อสารทางไกลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ด้วย แม้ เกี่ยวกับงานพิมพ์ ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลเข้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทาง โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาในการส่ง เอกสารระบบของ EDI นี้เป็นกลยุทธ์ที่อำนวยประโยชน์ได้อย่างสูงช่วยให้เกิดความเชื่อถือได้อย่างแน่นอน โดยการเข้ารหัส ( Lock in ) ของลูกค้าให้ถูกต้อง และสามารถทำได้ง่ายๆ สาหรับลูกค้า หรือผู้จำหน่ายใน การที่จะส่งสินค้าจากผู้จำหน่ายสินค้าในหัวข้อต่อไปจะกล่าวถึงวิธีการชำระเงินของการทำธุรกิจพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ 

ระบบการชำระเงินในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce Payment System) 
       การชำระเงินเป็นหัวใจและเป็นตัวกำหนดอนาคตของระบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ปัจจัยหลัก 2 ปัจจัยด้านการชำระเงินที่เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เดินหน้าได้อย่างไม่ สะดุด คือ 
      1. ความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
      2. ความรู้สึกปลอดภัยและแน่ใจในเรื่องการเงินการ ชำระเงินแบบเก่าลูกค้าไม่มีความมั่นใจจึงได้ใช้วิธีการแบบเดิม เช่น บริการโอนเงินหรือชาระผ่านที่ทาการ ไปรษณีย์ชาระเงินและค่าบริการผ่านธนาคารในรูปแบบต่างๆ ชำระผ่านบัตรเครดิตระบบการชำระเงินแบบเก่า ไม่เหมาะกับธุรกิจ E-Commerce ที่ต้องการความรวดเร็วแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการความรับประกันความ

      ปลอดภัยและเชื่อถือได้โดยเฉพาะธุรกิจในลักษณะ B2B เนื่องจากทาธุรกิจกันแบบไม่เห็นหน้า ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการบางรายก็ไม่รับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตหรือเช็คเพื่อให้เข้าใจในระบบการชำระเงินของ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เราควรจะทราบเกี่ยวกับรูปแบบของการชำระเงินด้วยวิธีเดิมก่อนแล้วจึงจะสามารถ เข้าใจสิ่งที่มีความต้องการต่างกันของระบบการชาระเงินในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 

ระบบการชาระเงินโดยทั่วๆ ไป
ประเภทของระบบการชาระเงิน แบ่งออกเป็น ประเภทหลักๆ ดังนี้ 


       1. Cash เงินสด เงินสดเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย ซึ่งกำหนดโดยผู้บริหารประเทศ และสามารถใช้ในการแทนมูลค่าได้ เงิน สดเป็นแบบที่ใช้กันทั่วไปมากที่สุด หากนับที่จำนวนธุรกรรม  
       ลักษณะที่สำคัญของเงินสด ก็คือ สามารถเปลี่ยนเป็นมูลค่าอื่นได้ทันที โดยไม่ต้องมีคนกลางของ องค์กรอื่นใด แต่ไมล์ของสายการบินไม่ใช่เงินสด เพราะมันไม่สามารถเปลี่ยนเป็นมูลค่าอื่นได้ทันที แต่ต้องมีคน กลางเช่นสายการบินในการเปลี่ยนเป็นมูลค่าอื่น (ตั๋วเครื่องบิน) 
        เหตุที่เงินสดยังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากเงินสดสามารถนำติดตัวไปได้ โดยไม่ต้องมีการได้รับการ อนุมัติ และผู้ที่ถือเงินสดอยู่ก็มีอำนาจในการซื้อได้ทันที การใช้เงินสดไม่ต้องมีค่าธรรมเนียมใด ๆ การใช้เงิน สดไม่ต้องมีฮาร์ดแวร์พิเศษ ไม่ต้องมีบัญชี (Account) ใด ๆ และไม่ต้องรู้ว่าผู้ใช้เป็นใคร การใช้เงินสดจะเป็น ความลับ และติดตามยาก หรือมีความเป็นส่วนตัวสูงนั่นเอง อย่างไรก็ตามเงินสดจะมีข้อจากัดคือ 
       ทำธุรกรรมได้ด้วยมูลค่าน้อย (ท่านไม่สามารถซื้อรถยนต์ หรือบ้านด้วยเงินสดได้อย่างง่าย ๆ)
       อาจถูกขโมยได้ง่าย
       การซื้อมักเป็นการสิ้นสุด และคืนยาก (เพราะยากแก่การพิสูจน์) นอกจากมีการตกลงกับผู้ขายไว้ก่อน 

       2. Checking Transfer การโอนโดยใช้เช็ค 
       การโอนโดยใช้เช็คเป็นการโอนเงินโดยตรง โดยการใช้ดร๊าฟ หรือเช็คที่มีการลงชื่อ จากบัญชีของผู้บริโภคไปยังผู้ค้า หรือบุคคลอื่น เป็นแบบที่นิยมมากเป็นอันดับสองของแบบของระบบการชำระเงิน
       เช็คสามารถใช้กับทั้งธุรกรรมที่มีมูลค่าน้อยหรือมากก็ได้ แม้ว่าเดิมจะไม่ใช้เช็คสำหรับการชำระใน ธุรกรรมที่มีมูลค่าน้อย ๆ เช็คจะมีระยะเวลาในการเรียกเก็บเงิน (Clear) (เช็คต่างธนาคารอาจจะต้องใช้ถึง 10 วันใน การเรียกเก็บเงิน) เช็คจะไม่เป็นความลับและต้องมีสถาบันที่เป็นบุคคลที่ ในการใช้งาน เช็คยังนำความ เสี่ยงมาสู่ผู้ค้าด้วย เพราะมันสามารถปลอมได้ง่ายกว่าเงินสด ดังนั้นจึงต้องมีการอนุมัติ นอกจากนี้ผู้ค้ายัง อาจมีความเสี่ยงอื่น เพิ่มขึ้นอีก เช่น เช็คอาจจะถูกยกเลิกก่อนที่จะถูกเรียกเก็บเงิน หรือ เช็คอาจจะเด้ง (Bounce) ถ้ามีเงินในบัญชีไม่เพียงพอ 
     ตั๋วแลกเงิน (Money orders) แคชเชียร์เช็ค (Cashiers checks) และเช็คเดินทาง(Travelers Check) เป็นเช็คที่มีการรับประกันซึ่งออกให้โดยธนาคาร หรือบริษัท ที่มีความ เชื่อถือได้ ไม่เสี่ยงเหมือนเช็ค ธรรมดา ดังกล่าวมาแล้ว เช่น ตั๋วแลกเงินจะใช้ได้เหมือนเงินสดแต่ก็มีความลับน้อยกว่า และผู้บริโภคจะต้อง เสียค่าธรรมเนียมในการซื้อเช็คที่มีการรับประกัน เหล่านี้ แต่ผู้บริโภคก็จะได้เครื่องมือที่จะใช้ในการชำระค่า สินค้าหรือบริการได้เกือบทุกแห่ง และบางกรณียังมีการประกันการสูญหายด้วย 

      3. Credit Card บัตรเครดิต 
       บัตรเครดิตใช้แทนบัญชีที่มีการขยายเครดิตไปยังผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสิ่งของ ในขณะที่ มีการชะลอการชำระเงิน และสามารถจ่ายให้หลายร้านค้าได้ในระยะเวลาเดียวกัน บริษัทบัตรเครดิต เช่น Visa และ Master Card เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรจากธนาคารที่ออกบัตรเครดิต เช่น ธนาคาร City Bank ซึ่งเป็นผู้ออกบัตรและประมวลผลการทำธุรกรรม ธนาคารที่ออกบัตรเครดิตทำหน้าที่เป็นคนกลางทาง การเงิน 
       บัตรเครดิตจะให้เครดิตแก่ผู้บริโภค และสามารถทำการซื้อทั้งสิ่งที่มีมูลค่าน้อยหรือมากได้ทันที เป็นระบบการชำระเงินที่เป็นที่ยอมรับแพร่หลาย ลดความเสี่ยงจากการถูกขโมยได้ ไม่เหมือนการนำเงินสดติดตัวไป และเพิ่มความสะดวกของผู้บริโภค บัตรเครดิตก็มีระยะ เวลา การเรียกเก็บเงิน โดยปกติจะได้รับใบแจ้ง หนี้หลังจากที่เราทาการซื้อไปแล้ว 30 วัน ผู้ค้าได้ผลประโยชน์จากการที่ผู้บริโภคใช้จ่ายมากขึ้น แต่ผู้ค้าก็ต้อง จ่ายค่าธรรมเนียมทาธุรกรรม 3-5% ของราคาที่ลูกค้าได้ซื้อให้แก่ธนาคารด้วยเช่นกัน

       4. Stored Value มูลค่าที่ได้ฝากไว้
       บัญชีที่เปิดโดยมีการฝากเงิน และเมื่อมีการจ่ายเงิน หรือถอนเงินในภายหลัง จะถือว่าเป็นระบบการ ชำระเงินจากมูลค่าที่ได้ฝากไว้ (Stored-value payments systems) ระบบนี้คล้ายกับระบบการใช้เช็ค แต่ ไม่ต้องมีการเขียนเช็ค ตัวอย่างของระบบการจ่ายเงินจากมูลค่าที่ได้ฝากไว้ เช่น บัตรเดบิต (Debit card) บัตรกานัล (Gift certificate) บัตรที่จ่ายเงินล่วงหน้า หรือบัตรเติมเงิน (Prepaid cards) และบัตรฉลาด (Smart card) 

       5. Accumulating Balance สะสมยอดค่าใช้จ่าย 
       บัญชีที่สะสมค่าใช้จ่าย และ ผู้บริโภคทการจ่ายเงินตามระยะเวลา เรียกว่าระบบการชำระเงินแบบ สะสมยอดค่าใช้จ่าย (Accumulating balance payment systems) ตัวอย่าง เช่น การจ่ายค่าสาธารณูปโภค ค่าโทรศัพท์ และบัญชี American express เป็นต้น ซึ่งการสะสม ยอดค่าใช้จ่าย โดยปกติจะมีระยะเวลาหรือ รอบการจ่ายเงินที่กำหนดไว้ (มักเป็น 1 เดือน) และแล้วต้องจ่ายเต็มจำนวนในตอนท้ายของรอบการจ่ายเงิน

ระบบการชำระเงินของ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน

       พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดความต้องการทางการเงินใหม่ ซึ่งมีหลายกรณีที่ไม่สามารถทำได้ใน ระบบการชำระเงินแบบเดิม ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ในการซื้อแบบใหม่ เช่น การประมูลระหว่างบุคคล แบบออนไลน์ ต้องมีวิธีการชำระเงินแบบบุคคลต่อบุคคล (Peer-to-peer payment method) โดยให้บุคคล หนึ่งสามารถชาระเงินให้อีกบุคคลหนึ่งโดยผ่านทางอีเมล์ เทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ก่อให้เกิดระบบ การชาระเงินแบบใหม่ๆ ขึ้นมาแทน หรือเสริมระบบการชาระเงินแบบเดิมหลายอย่าง ในปี 2000 มีการชำระเงินแบบออนไลน์ โดยใช้บัตรเครดิตประมาณ 95% และมีมูลค่า ของธุรกรรม ประมาณ 47,000 ล้านเหรียญ 
        ในสหรัฐอเมริกา ได้มีแบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่ ที่เป็นคู่แข่งของการชำระโดยใช้ บัตรเครดิต ระบบการชำระที่มีความแพร่หลายมากที่สุดก็คือ ส่วนที่เป็นอื่น ๆ (Other) ผู้เชี่ยวชาญพยากรณ์ว่า รูปแบบอื่น ๆ ของการชำระเงินจะมีประมาณ ใน ของการซื้อในปี 2003 
รูปแบบของการชำระเงิน มีดังนี้ 
      1. เงินสดดิจิตัลหรือเงินสดอิเล็กทรอนิกส์(Digitalcash:e-Cash) เป็นระบบการชำระเงินแบบแรกที่พัฒนาขึ้นสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบที่สร้างเงินตราแบบเอกชน โดยผู้บริโภคต้องเปิดบัญชีที่ธนาคาร และมีการฝากเงิน แล้วมีการสร้างกระเป๋าเงินแบบดิจิตัล(Digital Wallet) ซึ่งสามารถใช้จ่ายที่เว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ ตัวอย่างของเงินสดดิจิตัล ได้แก่ First Virtual, DigiCash (e-Cash) Millicent, PayPal และ MoneyZap เป็นต้น 
         2. ระบบมูลค่าที่ได้ฝากไว้แบบออนไลน์ (Online stored value systems) ระบบนี้ ผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินแบบออนไลน์แก่ผู้ค้า หรือบุคคลอื่นได้ทันที ตามมูลค่าของเงินที่มีอยู่ ในบัญชีแบบออนไลน์ เงินที่จะมาอยู่ในบัญชีออนไลน์นี้มากจากการเติมเงิน จากบัตรเดบิต บัญชีธนาคาร หรือ บัญชีเช็ค โดยเงินที่มีอยู่ในบัญชีนี้สามารถใช้ในการซื้อของแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ ตัวอย่างของ Online stored value system ได้แก่ Ecount, Monetta Debit, eCharge, Millicent, Mondex, American Express Blue เป็นต้น 
        3. ระบบการจ่ายเงินแบบสะสมยอดค่าใช้จ่าย (Digital accumulating balance payment system) 
เป็นระบบที่สะสมยอดค่าใช้จ่ายที่ไม่มากนัก และส่งใบแจ้งหนี้มายังผู้บริโภคเป็นระยะ ๆ เช่นตอน ปลายเดือน เพื่อให้จ่ายโดยบัตรเครดิต หรือ บัญชีธนาคารแบบอื่น ๆ Digital accumulating balance payment system เหมาะแก่การซื้อทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นดิจิตัล (Digital content) เช่น เพลง หนังสือ บทความ ตัวอย่างของ Digital accumulating balance system ได้แก่ qPass, iPIN และ Millicent 
       4. บัญชีเครดิตแบบดิจิตัล (Digital credit account) เป็นระบบที่ขยายความสามารถแบบออนไลน์ของระบบการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต โดยทำให้ สามารถชาระเงินแบบออนไลน์ได้และปลอดภัยและสะดวกทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ และทำให้ค่าธรรมเนียมน้อยลง ตัวอย่างของDigital credit account ได้แก่ eCharge Credit และ BillPoint Online Payments 
        5. ระบบการชำระเงินโดยเช็คแบบดิจิตัล (Digital checking payment systems) เป็นระบบที่ขยายความสามารถของระบบเช็คของธนาคาร โดยระบบสามารถสร้างเช็คแบบดิจิตัล 
     สำหรับชำระเงินแบบออนไลน์ให้แก่พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ ตัวอย่างของ Digital checkingpayment systems ได้แก่ eCheck, AchexIncและ BillPoint Electronic Checks นอกจากนี้ ในปัจจุบันนี้มีระบบการชาระเงินแบบออนไลน์อื่น ๆ เช่น 
         6. PayPal เป็นวิธีจ่ายเงินที่ทำให้บุคคล หรือ ธุรกิจที่มี e-mail address สามารถส่ง หรือรับเงินได้แบบออนไลน์ โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้ 
6.1  จ่ายออนไลน์ได้ง่ายและปลอดภัยกว่า (The safer, easier way to pay online) 
6.2  จ่ายได้โดยไม่ต้องมีการแจ้งหมายเลขบัตรเครดิตให้ร้านค้าทราบ (Pay without exposing credit card numbers to the merchant) 
6.3  ตรวจสอบราคาได้เร็วในขณะซื้อของออนไลน์ (Speed through checkout while 
shopping online) 
6.4  มีการป้องกันการจ่ายที่ไม่ได้รับอนุญาตได้ 100% (100% protection from 
unauthorized payments) 
6.5  มีการเฝ้าดูตลอดเวลาเพื่อป้องกันการโกง (24/7 monitoring to help prevent fraud) 
6.6  ไม่ต้องมีการพิมพ์รายละเอียดของบัตรเครดิตของท่านในการซื้อแต่ละครั้ง(No need to 
retype your credit card information) 
6.7  สามารถส่งเงินให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวได้ทั่วโลก (Send money to friends and 
family around the world) 
        7. GoogleCheckout  เป็นระบบการจ่ายเงินออนไลน์ ให้บริการโดย Google โดยมุ่งที่จะทำให้การ 
จ่ายเงินในการซื้อของแบบออนไลน์ ผู้ใช้จะเก็บสารสนเทศเกี่ยวกับบัตรเครดิตและการส่งของไว้ที่ Google Account จึงสามารถซื้อของจากร้านค้าที่ร่วมรายการโดยการคลิกเพียงปุ่มเดียวGoogle Account มีการ ป้องกันการโกง และมีหน้าสำหรับการติดตามการซื้อและสถานะของเขาได้ด้วย
       8. eBillme เป็นการจ่ายเงินที่ทำให้ท่านสามารถซื้อของออนไลน์ และจ่ายเงินโดยการจ่ายผ่านธนาคาร สหภาพเครดิต หรือ บริษัทที่ให้บริการรับชำระเงินได้ เช่น การชำระเงิน eBillmeผ่าน Western Union 



ระบบการชำระเงินในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มี 2 รูปแบบ คือ 
     1. ระบบชำระเงินแบบจ่ายก่อน (Pre-Paid Payment System) หมายถึงผู้ซื้อต้องนำเงินจริงไป เปลี่ยนให้เป็นเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อนเพื่อนำมาชำระเงินบนระบบเงินสดอิเล็กทรอนิกส์Electronic Cash เป็น การชำระเงินผ่านเครือข่ายที่มีการแปลงเงินจริงให้เป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
    2. ระบบชำระเงินแบบจ่ายที่หลัง (Post-paid Payment System) หมายถึงผู้ซื้อจะชำระเงินด้วย ข้อมูลแทนเงิน แล้วจึงชำระเงินจริงภายหลังเช็คอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Check การชำระเงินด้วยเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ซื้อและผู้ขายต้องมีบัญชีธนาคารเดียวกันและต้องขอใช้บริการกับทางธนาคาร และต้องมี SoftwareE-Wallet  ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อมีการซื้อสินค้าผู้ซื้อจะต้องทราบราคาสินค้าและทำการตกลงกับ ผู้ขายว่าจะชำระเงินทางใด จากนั้นทำการติดต่อซื้อ Coin (เงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์) หลังจากที่ธนาคาร ได้รับการสั่ง Coin จะทำการตรวจสอบบัญชี หักบัญชีและสร้าง Coin ที่มีมูลค่าตามที่ต้องการและส่งกลับไปยัง ลูกค้า 

    รูปแบบการชำระเงินได้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง แม้ปัจจุบันการชำระด้วยเงินสดและเช็คยังคงมี การใช้กันอย่างแพร่หลายในภาคธุรกิจ แต่ในปัจจุบันรูปแบบการชำระเงินกาลังถูกทดแทนด้วย “การชำระเงิน ทางอิเล็กทรอนิกส์” (Electronic payment) หรือ ที่เรารู้จักกันในชื่อเรียกสั้น ๆว่า “e-payment” 

ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์(e-Payment) 
      ในชีวิตประจำวันของคนเรา มีความเกี่ยวข้องกับการชำระเงินอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินเพื่อ ซื้อสินค้า/บริการ การโอนเงิน หรือการทำธุรกรรมการเงินอื่นใด การขยายตัวของเศรษฐกิจและความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้การบริการด้านการชำระเงินมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยรูปแบบการชำระ เงินมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น การให้บริการมีความรวดเร็วและคล่องตัวมากขึ้นสอดคล้องกับ ความต้องการของภาคธุรกิจและประชาชน และมีผู้ให้บริการรายใหม่ๆ เกิดขึ้น รวมทั้งมีการนาเอา กระบวนการชาระเงินเข้าไปในระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกกันว่า ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E- Payment)
      ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment system) คือ กระบวนการส่งมอบหรือโอนสื่อ การชำระเงินเพื่อชำระราคา โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสาร โทรคมนาคม โทรสาร โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น 

วิธีการชำระเงินของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
      การชำระเงินในธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จะเลือกใช้วิธีรับชำระเงินฝ่ายบัตรเครดิตเป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นวิธีที่สะดวกแก่ลูกค้าในการใช้บริการรวมถึงสะดวกต่อผู้ค้าด้วย แต่มีผู้ซื้อจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่มั่นใจ กับระบบความปลอดภัยในการใช้งานบัตรเครดิตผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตเมื่อเทียบกับการชาระเงินด้วย รูปแบบอื่นๆ ดังนั้นธุรกิจจึงจาเป็นต้องเปิดช่องทางในการชาระเงินให้แก่ลูกค้าไว้หลายๆ ช่องทาง เพื่อให้ลูกค้า เลือกช่องทางที่สะดวกที่สุด เอกสารประกอบการสอนในบทนี้จึงเสนอช่องทางการชาระเงิน 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ 

1. ระบบโอนเงินผ่านที่ทำการไปรษณีย์ ระบบนี้สามารถใช้บริการผ่านที่ทาการไปรษณีย์ทั่วประเทศ รวมถึงจากตัวแทนผู้ให้บริการในพื้นที่ ต่างๆ ซึ่งบริการของไปรษณีย์แห่งประเทศไทยมีหลายรูปแบบ ด้วยกัน ได้แก่ 
      1.1 บริการธนาณัติออนไลน์ บริการฝากส่งเงินด่วนพิเศษถึงผู้รับปลายทางภายในประเทศโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว ผู้รับและผู้ส่งเงินไม่ต้องมีบัญชีเงินฝาก เพียงใช้บัตรประจำตัวประชาชนก็สามารถส่งและรับ เงินได้ ณ ที่ทาการไปรษณีย์ทั่วประเทศภายในเวลา 15 นาที และยังสามารถฝากส่งข้อความให้แก่ผู้รับเงินได้ ด้วยไม่เกิน 100 ตัวอักษร (รวมเว้นวรรค)โดยฝากสูงสุดได้ไม่เกิน 50,000 บาท / ฉบับ และฝากส่งถึงผู้รับราย เดียวกันได้ไม่เกิน 100,000 บาท / วัน 
     1.2 ธนาณัติธรรมดา บริการส่งเงินถึงผู้รับภายใน 1 – 5 วันทำการนับจากวันที่ฝากส่งโดย ไปรษณีย์จะส่งธนาณัติให้ผู้รับ ทางไปรษณีย์รับรองฝากส่งเงินได้ไม่เกินฉบับละ 50,000 บาท และฝากส่งถึงผู้รับรายเดียวกัน ณ ที่ทำการไปรษณีย์เดียวกันได้ไม่เกิน 10,000 บาท โดยใช้หลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ทางราชการออก ให้ประกอบการติดต่อขอรับเงิน 
      1.3 ธนาณัติด่วนพิเศษ บริการส่งเงินถึงผู้รับด้วยความรวดเร็วและแน่นอนเป็นพิเศษภายใน 1 – 2 วันทำการนับจากวันที่ฝาก ส่ง ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบสถานะการฝากส่งด้วยระบบ Trace & Trace ทางเว็บไซต์ www.thailandpost.co.th เงื่อนไขฝากส่งเงินได้ไม่เกินฉบับละ 50,000 บาท และฝากส่งถึงผู้รับรายเดียวกัน ณ ที่ทาการไปรษณีย์เดียวกันได้ไม่เกิน10,000 บาท โดยใช้หลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรที่ทาง ราชการออกให้ประกอบการติดต่อขอรับเงิน
     1.4 ธนาณัติอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศ  ธนาณัติที่สั่งจ่ายจากประเทศไทยไปจ่ายเงินให้แก่ผู้รับในต่างประเทศหรือส่งจากต่างประเทศมา จ่ายเงินให้แก่ผู้รับในประเทศโดยผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ EUROGIROซึ่งเป็นผู้ให้บริการชั้นนำด้าน เทคโนโลยีการรับ-ส่งเงินระหว่างประเทศ ปัจจุบัน ปณท เปิดให้บริการกับประเทศต่างๆ รวม 14 ประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย โปแลนด์ เวียดนาม มาดากัสการ์ ฝรั่งเศส อิสราเอล ศรีลังกา เกาหลีใต้ ตุรกี ฮังการี และสเปน ซึ่งผู้รับสามารถรับเงินได้ภายใน 3 วันทาการนับจากวันฝากส่ง 
     1.5 บริการโอนเงินด่วนระหว่างประเทศ (Western Unioun)  บริการโอนเงินด่วนระหว่างประเทศ เวสเทิร์นยูเนี่ยน ทั้งฝากส่งและรับเงิน ภายใต้ความร่วมมือ ระหว่าง บริษัท ไปรษณีย์ไทย จากัด กับ บริษัท เวสเทิร์น ยูเนี่ยน ผู้ให้บริการโอนเงินด่วนทั่วโลก เชื่อมโยงผ่าน ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อันทันสมัยภายใน ไม่กี่นาทีก็สามารถส่งเงินและรับเงินได้ ณ ที่ทาการไปรษณีย์ทั่ว ประเทศโดยวงเงินสูงสุดในการฝากส่งต่อฉบับไม่เกิน 2,000 เหรียญสหรัฐฯ / คน / วัน 
     1.6 ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์  บริการตราสารสั่งจ่ายเงิน เหมาะสำหรับซื้อเป็นของขวัญมอบให้ญาติมิตรในโอกาสต่างๆ ซึ่งกำหนด ชนิดราคาไว้แล้ว เพื่อให้ผู้ซื้อส่งไปให้ผู้รับนำไปรับเงิน ณ ที่ทำการไปรษณีย์ปัจจุบันมี 7 ชนิดราคา ได้แก่ 5 บาท 10 บาท 20 บาท 50 บาท 100 บาท200 บาท และ 500 บาท 
     1.7 บริการไปรษณีย์เก็บเงิน (C.O.D) บริการฝากส่งสิ่งของทางไปรษณีย์เพื่อเรียกเก็บเงินจากผู้รับมอบสิ่งของนั้นตามจำนวนเงินที่ระบุไว้บน ห่อซอง ณ ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง พร้อมจัดส่งเงินจำนวนนั้นให้แก่ผู้ฝากส่ง สามารถส่งได้ 3 แบบ คือ ไปรษณียภัณฑ์เก็บเงิน คือ ฝากส่งเป็นจดหมายลงทะเบียนหรือจดหมายรับประกัน พัสดุไปรษณีย์เก็บเงิน คือ ฝากส่งเป็นพัสดุไปรษณีย์ ไปรษณีย์ด่วนพิเศษเก็บเงิน คือ ฝากส่งเป็นไปรษณีย์ด่วนพิเศษ 
     1.8 เพย์แอทโพสท์ (Pay@Post) รับชำระเงินค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ เช่น สาธารณูปโภค ธุรกิจ เช่าซื้อ บัตร เครดิต เป็นต้น โดยมีคู่ค้าร่วมให้บริการกว่า 200 บริการจึงให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการในการชำระเงินได้ อย่างครบครันและสะดวกรวดเร็ว
      1.9 บริการ Bank@Postฝาก/รับ/โอน ผ่านไปรษณีย์  ฝากเงินผ่านไปรษณีย์ไทย โอนเงินระหว่างบัญชี หรือโอนเงินกับธนาคารที่ร่วมบริการ แล้วมารับเงินที่ ไปรษณีย์ 1,400 แห่งทั่วประเทศ สะดวกกับลูกค้าในการจัดการกับบัญชีเงินฝากได้อย่างง่ายดาย จุดเด่นบริการ สามารถฝากเงินได้ทุก ปณ. ทั่วประเทศ ประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับสะดวก รวดเร็ว ข้อมูลแบบเรียลไทม์ เช่นเดียวกับการทำธุรกรรมผ่าน เคาน์เตอร์ธนาคาร 

2. บริการโอนเงินผ่านทางธนาคาร การโอนเงินผ่านธนาคารนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบทั้งผ่านสาขา และช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่ง ธนาคารจัดเตรียมเอาไว้ สามารถสรุปเป็นรูปแบบต่างๆ ได้ดังนี้ 
      2.1 โอนเงินผ่านบริการของเคาน์เตอร์ธนาคาร เป็นการชำระค่าบริการโดยโอนเงินเข้าบัญชีโดยผ่านหน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร โดยผู้ชาระต้องเดินทางไป ที่ธนาคารและทำการโอนเงินด้วยตนเอง ส่วนใหญ่สามารถทำได้เฉพาะวันทำการของธนาคาร แต่ปัจจุบัน ธนาคารหลายแห่งได้เปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเป็นการเปิดทาการล่วงเวลามากขึ้น โดยเฉพาะกับสาขาย่อย ที่เปิดทาการในห้างสรรถสินค้า ขณะที่บริการทางการเงินนั้นแบ่งแยกย่อยได้อีก หลายประเภท เช่น 
       การโอนเงินปกติ
       การโอนเงินรายใหญ่ (Bank of Thailand Automated High-value Transfer 
Network : BahtNet) เป็นการโอนเงินที่ละมากๆไปยังปลายทางเป็นเครือข่าย อีเล็กทรอนิกส์ระหว่างสถาบันการเงินที่สร้างขึ้นโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย 

      -  การโอนเงินรายย่อย(Media Clearing) เป็นเครือข่ายอีเล็กทรอนิกส์แบบ BAHTNET แต่มีธุรกรรมไม่เกิน 500,000 บาทต่อวัน และไม่เป็น RTGS ต้องรอ รวบรวมธุรกรรมไว้จนหมดสิ้นวัน จึงส่งข้อมูลเข้าชาระบัญชีระหว่างธนาคารที่ BOT (Batching Process) วันละ 1 ครั้ง ในรูปของไฟล์อีเล็กทรอนิกส์ ผู้รับโอนเงินจะ ได้รับเงินในวันรุ่งขึ้นส่วนการระบบโอนเงินรายย่อยแบบออนไลน์(Online Retail Fund Transfer : ORFT) พัฒนาโดยสมาคมธนาคารไทย สามารถโอนเงินผ่าน เครื่อง ATM ได้ ภายใต้ข้อจากัดการโอน คือ ครั้งละไม่เกิน 20,000 บาท และวันละ ไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งมีความปลอดภัยเพราะใช้ผู้ให้บริการเครือข่ายส่วนบุคคล สามารถส่งผ่านข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก โดยเน้นธุรกรรมขนาด ใหญ่ผ่านเครือข่าย VPN ที่เชื่อมอยู่กับ Terminal ที่เคาน์เตอร์ของธนาคารพาณิชย์ โดยเป็นวิธีชาระเงินแบบมีผลทันที (Real Time Gross Settlement ; RTGS) 



โอนเงินระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 
    -   ระบบโอนเงินระหว่างประเทศ (SWIFT) โอนระหว่างประเทศโดยใช้ เครือข่ายธนาคารที่มีอยู่ทั่วโลก   
    -   
ธนาณัติ เวสต์เทิร์นยูเนี่ยน (Western Union) คือ บริการส่งเงินด่วนทาง อิเล็กทรอนิกส์ ผ่านตัวแทนของเวสต์เทิร์นยูเนี่ยน โดยใช้เวลาเพียง 15 นาที โดยผู้รับโอนสามารถรับเงินได้ที่สาขาของเวสต์เทิร์นยูเนี่ยนในที่ต่างๆ ทั่วโลก ถึงแม้จะไม่มีบัญชีธนาคารเปิดอยู่ ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกมากในการโอน เงินไปต่างประเทศ ผู้ฝากส่งธนาณัต์เวสต์เทิร์นยูเนี่ยนไม่ต้องใช้เอกสารใดๆ ผู้รับธนาณัติเวสต์เทิร์นยูเนี่ยนเท่านั้นที่จาเป็นต้องแสดงหลักฐานประจาตัว เช่น บัตรประชาชนและหนังสือเดินทาง ประกอบการติดต่อขอรับเงิน 
    -   ธนาณัติ มันนี่แกรม(MoneyGram) รูปแบบคล้ายเวสต์เทิร์นยูเนี่ยน แต่ เป็นผู้ให้บริการอีกรายหนึ่ง มีรูปแบบการโอนเงินคือ เป็นบริการโอนเงิน ด่วนระหว่างประเทศทั้งขาเข้าและขาออก สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย โดยรับเป็นเงินสดและไม่ต้องมีบัญชีกับธนาคาร เงื่อนไขการให้บริการ เพียง แสดงหมายเลขอ้างอิง และหลักฐานแสดงตนก็สามารถรับเงินที่โอนเข้ามา จากต่างประเทศได้ทันที จุดเด่น คือใช้เวลาเพียง 10 นาทีหลังการโอนเงิน ก็สามารถติดต่อขอรับเงินได้ทันที่ที่ธนาคารทุกสาขาหรือ Exchange Booth ที่มีเครื่องหมาย MONEYGRAM 




2.2  โอนเงินผ่านเครื่องฝากเงินอัตโนมัติ (ATM) 
      วิธีนี้ถือเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด โดยเฉพาะกับผู้ที่มีหมายเลขบัญชีธนาคารและมีบัตรเอทีเอ็มสหรับใช้ งานบริการทางการเงินของธนาคารควบคู่กันไปด้วย เนื่องจากว่าตู้สาขาเอทีเอ็มของธนาคารแต่ละแห่งนั้น กระจายอยู่ในสถานที่ต่างๆ มากมาย ทำให้เข้าถึงได้ง่าย การทธุรกรรมทางการเงินผ่านเอทีเอ็มทาได้หลาย แบบ ทั้งการชระค่าบริการสินค้า โอนเงินให้กับปลายทางที่อยู่ในธนาคารเดียวกัน และอยู่ต่างธนาคาร โดย ค่าบริการนั้นคิดตามสัดส่วนจานวนเงินที่ส่งไปยังปลายทางนั่นเอง

2.3 ชำระผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง (e-Banking) 
      บริการที่ลูกค้าธนาคารที่มีบัญชีฝากกับธนาคารนั้นๆ สามารถทำธุรกรรมกับธนาคารได้ฝ่ายเครือข่าย อินเทอร์เน็ต โดยผู้ที่ต้องการใช้บริการสามารถสอบถามเคาน์เตอร์ธนาคาร และทาการกรอกแบบฟอร์มตาม เงื่อนไข ก่อนการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่ทำได้ง่ายๆ เพียงการlogin เข้าระบบใส่ password และเลือกใช้บริการต่างๆ ที่ธนาคารจัดไว้ให้ สาหรับร้านค้าหรือผู้ที่ต้องการให้ลูกค้าของตนสามารถชาระผ่านช่องทางนี้ได้ จะต้องติดต่อกับทางธนาคาร เพื่อนำบัญชีของบริษัทหรือร้านค้า เข้าสู่ระบบเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือก ชำระเงินเข้าสู่บัญชีของท่านได้ทันที โดยรูปแบบนี้ ผู้สมัครจะต้องจดทะเบียนในรูปแบบบริษัทเท่านั้น 
     -  ธนาคารอินเตอร์เนต (Internet Banking) เป็นการเพิ่มความสะดวกในการชำระเงิน แก่ลูกค้าผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตและไม่ต้องใช่สมุดคู่ฝาก เช่น การดูยอดเงินใน บัญชี การโอนระหว่างบัญชีออมทรัพย์กับกระแสรายวัน การชำระค่า สาธารณูปโภคผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตด้วยระบบหักบัญชีด้วยตนเอง
     -  ระบบหักบัญชีอัตโนมัติ (Direct Debit/Direct Credit) แบ่งเป็น ระบบ คือ 
          1. ระบบ Direct Debit คือระบบที่เจ้าของบัญชีจะอนุญาตให้ธนาคารหักเงินออกจาก บัญชีเพื่อชาระค่าบริการตามที่ระบุไว้ล่วงหน้าได้ เช่นการชาระค่าสาธารณูปโภค จากหลายๆ บัญชี (Many to One) 
         2. ระบบ Direct Credit คือระบบที่เจ้าของ บัญชีอนุญาตให้ธนาคารหักเงินออกจากบัญชีของตนเข้าสู่หลายๆบัญชีได้ เช่น การ โอนเงินเข้าบัญชีเงินเดือนพนักงาน (One to Many) 

3. บริการชำระค่าใช้จ่ายฝ่ายบัตรเครดิต
    วิธีนี้ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เพราะสะดวกและรวดเร็วแม้ระบบการชำระเงินแบบนี้จะได้รับการ วิจารณ์ในเรื่องความปลอดภัย(Security) และความเป็นส่วนตัว (Privacy) อยู่บ้าง โดยเฉพาะกับการสั่งซื้อ สินค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ซื้อที่ต้องการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต จะต้องกรอกข้อมูลตัวเลขประจำบัตร เข้าไปในระบบ ทั้งชื่อเจ้าของบัตร หมายเลขบัตร และวันหมดอายุของบัตร และในบางครั้งอาจจะต้องทำการ กรอกข้อมูลที่สำคัญๆ บางอย่าง เพื่อระบุตัวตนของผู้เข้าใช้งานไปด้วย ทำให้หลายคนกังวลว่าอาจมีมิจฉาชีพ ทำการดักจับข้อมูลเหล่านั้นได้ และยังมี Software จาพวก Packet Sniffer สำหรับดักจับข้อมูลในเครือข่าย Internet ได้อีกด้วย ดังนั้นร้านค้าในระบบ E-Commerce จึงจาเป็นต้องมีการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อป้องกันการ ลักลอบอ่านข้อมูลกลางทาง โดยระบบที่นิยมในปัจจุบันคือ SSL (Secure Socket Layer) และมีการใช้ระบบ รักษาความปลอดภัยที่เรียกว่า SET (Secure Electronic Transaction) ซึ่งทำให้ร้านตรวจสอบได้ว่าผู้ส่งคำสั่ง ซื้อเป็นลูกค้าจริงหรือไม่ก่อนการจัดส่งสินค้าจริง แต่ระบบนี้ยังมีข้อยุ่งยากอยู่บ้างโดยเฉพาะในฝั่งของลูกค้าซึ่ง ต้องมีการติดตั้งโปรแกรมพิเศษและเสียค่าธรรมเนียมในการใช้บริการนี้ จึงยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก
        การสมัครใช้บริการสำหรับผู้ประกอบการ ผู้ที่สนใจสมัครเปิดใช้บริการบัตรเดรดิตออนไลน์กับทาง ธนาคาร อาจจะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง เนื่องจากว่าบริการแบบนี้เป็นบริการสำหรับผู้ที่จดทะเบียนตัวเองให้อยู่ใน ลักษณะรูปแบบของบริษัท หรือนิติบุคคลเท่านั้น ยังไม่เปิดให้บริการกับบุคคลธรรมดา โดยคุณสมบัติโดยทั่วไป ของบริษัทที่ต้องการจะสมัครเป็นผู้ใช้บริการต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
       -  ผู้ประกอบธุรกิจต้องจดทะเบียนในรูปแบบบริษัทมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี และต้องมีทุนจด ทะเบียนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท และต้องวางเงินค้าประกันตั้งแต่ 50,000 ถึง 200,000 บาท 
       -  ผู้บริหารหลักต้องไม่มีประวัติเสียทางด้านการเงินมาก่อน
       -  ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ชาระเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 
       -  ไม่ข่ายสินค้าและบริการผิดกฎหมาย และอื่นๆ ตามที่กฎหมายและธนาคารกำหนด วิธีเริ่มต้นใช้บริการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตกับธนาคาร ร้านค้าต้องเปิดบัญชีกับธนาคารที่ไปสมัครขอ ใช้บริการ และทำการพัฒนาระบบของเว็บไซต์เพื่อเชื่อมต่อกับธนาคาร และอาจจะต้องมีการทดสอบระบบ ก่อนเปิดให้บริการจริงๆ อีกครั้งเพื่อความมั่นใจว่ามีความปลอดภัยและใช้การได้โดยไม่หยุดกลางคัน ระหว่างที่ ผู้ใช้บริการกำลังทำการจ่ายเงินผ่านเครดิตของตนบนเว็บไซต์ 

ขั้นตอนการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตออนไลน์
       1.  ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าจากหน้าเว็บและคลิกเพื่อชำระเงิน
       2.  เว็บไซต์ของร้านค้าทำการลิงค์ไปยังเว็บไซต์ของธนาคารเพื่อกรอกข้อมูลบัตรเครดิต ได้แก่ เลขที่บัตรเครดิตวันหมดอายุเลข CVC (Card Verification Code) ตัวเลขบนหลังบัตรเครดิต สำหรับบาง แห่งอาจกรอกข้อมูลอื่นเพิ่มเติม เช่น บัตรวีซ่า และมีระบบ VBV (Verify by VISA) จากนั้นกดยืนยัน เพื่อชำระเงิน 
       3.  ข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้า จะวิ่งผ่านเครือข่ายของธนาคารไปตรวจสอบข้อมูลและระบุตัวตนกับ ธนาคารผู้ออกบัตร (Issues Bank) ว่าบัตรเครดิตใบนั้นเป็นบัตรที่เลขถูกต้องหรือไม่ มีวงเงินพอ หรือไม่
       4.  หากวงเงินพอธนาคารของลูกค้าจะตัดเงินออกจากวงเงินของลูกค้าคนนั้นและแจ้งกลับมายังธนาคาร ของร้านค้าว่าอนุมัติ และรายการทำสำเร็จแล้ว 
        5.  ธนาคารของร้านค้าจะส่งข้อมูลแจ้งกลับไปยังที่หน้าจอของลูกค้า ว่าเงินได้ถูกชำระและได้ตัดเงินไปแล้ แต่หากเกิดความผิดพลาด วงเงินไม่พอ หรือบัตรผิดธนาคารจะขึ้นหน้าจอแสดงว่าไม่สามารถตัดเงินได้ ซึ่งลูกค้าอาจจะต้องเปลี่ยนบัตรเครดิตใบใหม่เพื่อชำระเงิน
       6.  หลังจากตัดเงินจากบัตรเครดิตของลูกค้ามาแล้วธนาคารจะโอนเข้าบัญชีร้านค้าทันที
       7.  เมื่อถึงตอนสิ้นเดือนลูกค้าจะได้รับใบเรียกเก็บเงินของบัตรเครดิตที่ได้ไปใช้ชาระเงินไว้บนเว็บไซต์ร้านค้า
       8.  ลูกค้าชำระเงินค่าสินค้าตามใบเรียกเก็บเงินของบัตรเครดิต กลับมายังธนาคารเจ้าของบัตรเครดิต 


     เว็บไซต์ของร้านค้าสามารถมีวิธีการป้องกันการใช้บัตรเครดิตในการชาระเงินผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีหลายวิธีที่เราสามารถตรวจสอบและป้องกัน เพื่อสร้างความมั่นใจในการซื้อสินค้าผ่านทาง ช่องทางนี้ เช่น 
      -  ข้อมูลของผู้สั่งซื้อต้องครบถ้วนและตรวจสอบได้ และต้องให้ข้อมูลที่สามารถติดต่อกลับได้ เพื่อน ตดิ ต่อและยืนยันการสั่งซื้อ 
      -  ระวังผู้สั่งซื้อที่สั่งซื้อสินค้าโดยใช้บริการ e-Mail ฟรี เพราะไม่สามารถตรวจสอบความมีตัวตนได้ 
      -  โทรศัพท์ตรวจสอบกลับไปยังที่อยู่ของผู้ถือบัตรเพื่อยืนยันการสั่งซื้อ หากพบว่า เจ้าของบัตรไม่ได้ ทาการสั่งซื้อสินค้าจริง ร้านค้าควรรีบแจ้งธนาคารที่ออกบัตร เพื่อระงับหรือเปลี่ยนเลขบัตรให้กับเจ้าของบัตรใหม่
      -  ทำการเช็คจาก IP ของผู้ที่ได้เข้ามาทาการซื้อของในบางกรณีที่สงสัย และเช็คแหล่งที่มาของบัตรเครดิต 
      -  ทำการร้องขอสำเนาบัตรเครดิต เพื่อเป็นหลักฐานในการยืนยันกับทางธนาคารหากเกิดการปฏิเสธการจ่ายเงินจากลูกค้า 

4. การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการอื่นๆ
     การบริการแบบนี้เป็นกรณีที่ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดาที่ไม่สามารถใช้บริการรับชำระผ่าน บัตรเครดิตผ่านธนาคารได้ สามารถใช้บริการผ่าน Payment Operator ซึ่งจะเป็นคนกลางในการรับชำระเงินระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเพื่ออานวยความสะดวกในการจ่าย แล้วนำเงินส่งให้ธนาคารต่อไป บริการรูปแบบนี้ ตัวอย่างเช่น 
     1. PayPal เป็นบริษัทออนไลน์ที่ให้บริการระบบโอนและชำระเงินผ่านอีเมล์ ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2C Payment) หรือระหว่างบุคคลต่อบุคคล (P2P Payment) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นผู้ให้บริการด้านการ ชาระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตเจ้าแรก บริการทั่วๆ ไปที่ลูกค้านิยมใช้บริการผ่าน PayPal ได้แก่ การโอนเงิน ระหว่างบุคคลกับบุคคล การชำระเงินค่าสินค้าในตลาด การประมูลต่างๆ โดยเฉพาะตลาดประมูลระหว่าง บุคคลกับบุคคลของ eBay ซึ่งตอนนี้ PayPal ได้ถูก eBay ซื้อกิจการเข้ารวมเป็นบริษัทเดียวกับ eBay แล้ว การทำธุรกรรมที่เป็นลักษณะเดียวกับการสั่งจ่ายเช็คระหว่างบุคคลกับบุคคลและการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ ร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งการชำระเงินผ่าน PayPal มีข้อดี ดังนี้ 
     รองรับการทำธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคด้วยกันได้
     มีต้นทุนในการทำธุรกรรมที่สามารถสั่งจ่ายเงินที่มีมูลค่าน้อยได้
     มีความรวดเร็วเสมือนกับการรับและส่งเช็คทางออนไลน์ และทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง 
     ทางการเงินผ่านบัตรเครดิตและบัญชีธนาคาร ผู้ที่ต้องการใช้บริการต้องสมัครเป็นสมาชิกของ PayPal ซึ่งไม่ต้องเสียค่าบริการใดๆ ทั้งสิ้น ลูกค้าจะเป็นคนกำหนดชื่อบัญชี (Login) และรหัสผ่าน (Password) ได้ด้วย ตนเอง โดยลูกค้าสามารถเลือกเปิดบัญชีส่วนบุคคลหรือบัญชีแบบ Premier ซึ่งวงเงินในการรับชำระด้วยบัตร เครดิตและคิดค่าบริการแตกต่างกัน

วิธีการรับส่งเงินผ่าน PayPal 
      1.   สมัครเป็นสมาชิกของPayPal 
      2.  ล็อกอินเข้าสู่ระบบของ PayPal ในขั้นตอนการโอนเงิน เลือกหัวข้อ “Send Money” หลังจากนั้นให้ระบุอีเมล์ของผู้รับเงิน จำนวนเงิน และประเภทของการชำระเงิน เพื่อแจ้งให้ผู้รับเงินทราบ 
3.   ระบุข้อมูลบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตของลูกค้าที่ต้องการชำระ
      4.   ยืนยันการโอนเงิน แล้วบริษัทจะส่งอีเมล์แจ้งหมายเลขยืนยันการโอนเงิน เพื่อให้ผู้โอนเงินใช้อ้างอิง ส่วนผู้รับจะได้อีเมล์แจ้งว่ามีการโอนเงินให้ผ่านบริการของ PayPal โดยผู้รับจะสามารถรับเงินจำนวน นั้น 
      5.   เมื่อผู้รับได้รับอีเมล์แจ้งการโอนเงินแล้วผู้รับต้องลงทะเบียนเป็นสมาชิกของ PayPalเช่นเดียวกับผู้โอนเงิน จากนั้นผู้รับจะได้รับเงินและเก็บในบัญชีที่เปิดไว้กับ PayPal โดยสามารถโอนเงินจ่ายให้แก่ ผู้อื่น หรือถอนเงินนี้ออกมาเข้าบัญชีธนาคารของตนหรือส่งเป็นเช็คมาก็ได้
     6. เมื่อผู้รับได้รับเงินเรียบร้อยแล้วบริษัทจะส่งอีเมล์ยืนยันการรับเงินให้แก่ผู้โอนอย่างไรก็ตามบริษัท อนุญาตให้ผู้โอนสามารถยกเลิกการโอนเงินได้ก่อนผู้รับจะรับเงิน 

       ค่าธรรมเนียม PayPal หากเป็นการโอนเงินระหว่างผู้รับและผู้ส่งที่เป็นสมาชิกของ PayPal จะไม่เสีย ค่าธรรมเนียม แต่หากไม่ใช่อัตราค่าธรรมเนียมจะคิดประมาณ 2.6% ของจำนวนเงินที่โอน และบวกเพิ่มอีก 30 เซ็นต์ แต่ถ้าเป็นการโอนเงินไปในบัญชีของธนาคารในประเทศสหรัฐอเมริกา จะไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ แต่ถ้า ไม่ใช่จะเสียค่าธรรมเนียมประมาณ 1.50 เหรียญสหรัฐ 

       จุดเด่นของ PayPal คือ เป็นช่องทางในการโอนเงินระหว่างบุคคลที่สะดวกสุด ค่าธรรมเนียมในการ ให้บริการถูก และต้นทุนของธนาคารในการทาธุรกรรมต่า รองรับการทาธุรกรรมด้วยเงินหลายสกุล มีความ ปลอดภัย ร้านค้าส่วนใหญ่ในอเมริกาและยุโรป ยอมรับมากขึ้น และได้รับการยอมรับจากนิตยสารและ ผู้เชี่ยวชาญในวงการอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง

       2. Paysbuy ให้บริการชำระเงินออนไลน์ด้วยระบบ e-Wallet หรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (คล้ายบัตรซื้ออาหารของห้างโลตัสหรือบัตรเติมเงินโทรศัพท์) ซึ่งผู้ให้บริการสามารถชำระค่าสินค้า ด้วยการเติมเงินจากบัญชีธนาคารหรือจากบัตรเครดิตเข้าไปยังบัญชี Paysbuy ที่ได้สมัครสมาชิกไว้ ซึ่งการสมัครไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เหมาะกับธุรกิจ e-Commerce ที่ต้องการเปิดรับชำระเงิน ออนไลน์ แต่ไม่ต้องการติดต่อกับธนาคารเพื่อนขอทาธุรกรรม โดยเป็นบริการที่มีความปลอดภัยสูง โดยใช้เทคโนโลยี SSL 128 bits และเทคโนโลยีที่ทันสมัยอื่นๆ ในการป้องกันข้อมูลของผู้ใช้บริการ และเพิ่มความมั่นใจในการใช้บัตรเครดิตด้วยการใช้บริการ Verified by VISA และ MasterCard SecureCode 

5. ระบบการชำระเงินผ่านโทรศัพท์ (Mobile Payment)  เทคโนโลยีในปัจจุบันนี้ ได้นำมาใช้ร่วมกับอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้เป็นระบบการชำระเงินที่สะดวกและ รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งโทรศัพท์มือถือมีข้อได้เปรียบตรงที่สามารถพกพาติดตัวไปได้ทุกที่และยังสามารถเชื่อมตอ่ อินเทอร์เน็ตได้ หรือแม้แต่ส่งข้อมูลหรือข้อความได้ทุกที่ทุกเวลา ดังนั้นบริการชาระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือจึง เป็นที่นิยม และมีหลายรูปแบบด้วยกัน ดังต่อไปนี้ 
       5.1 Micro Payment คือ รูปแบบการชำระเงินที่จำกัดวงเงินสำหรับใช้ชำระค่าบริการหรือสินค้าที่มีจำนวนเงินไม่สูงมากนัก เช่น การโหลดโลโก้เพื่อลงโทรศัพท์มือถือ ค่าบริการจะนาไปรวมกับค่าบริการโทรศัพท์นั้นๆ ซึ่งจะสามารถ ชาระพร้อมๆกันได้ 
       5.2 ระบบออดิโอเท็กซ์ 1900 คือ ระบบโต้ตอบอัตโนมัติ เมื่อมีการสนทนาก็จะบันทึกเวลาแล้วแล้วเรียกเก็บเงินจากผู้ให้บริการ โทรศัพท์มือถือซึ่งจะมาเก็บเงินจากเราอีกครั้งหนึ่ง เช่น เทพธิดาพยากรณ์ เป็นต้น               
      
5.3 การชำระเงินด้วย SMS การใช้ SMS เป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะการใช้SMS เป็นช่องทางในการชำระค่าใช้ บริการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ เช่น การโหลดโลโก,้ เสียงเพลงเรียกเข้าการส่ง SMS ร่วมการโหวตรายการ ทางทีวีต่างๆ เป็นต้น 

ปัจจัยแห่งความสาเร็จของ e-Payment มี ประเด็น คือ 
      1. การบริการลูกค้า เทคโนโลยีต้องเข้าถึงได้ง่ายและเป็นมิตรกับประชาชน ลดขั้นตอนทางราชการที่ ยุ่งยากซับซ้อน ให้สารสนเทศที่ทันสมัยและตรงกับความต้องการ 
      2.  การออกแบบและประเมินผลบริการต้องมีการบริหารจัดการที่ดีและรักษาระบบให้มีเสถียรภาพแม้ใน ภาวะวิกฤติ กาหนดนโยบายและกระบวนการรับข้อร้องเรียนที่ชัดเจน ติดตามผลและปรับปรุงระบบ ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง 
      3.  ความมั่นคงและปลอดภัย บริการต้องอานวยความสะดวกในการทาธุรกรรมออนไลน์ และให้ ความสำคัญสูงสุดต่อความปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคล
      4.  การเห็นคุณค่าและความสคัญ บริการที่ดีต้องถูกให้ความสคัญในลดับสูงสุดจากทุกภาคส่วน ผู้นำประเทศ นักการเมืองท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ระดับสูง และพนักงานของรัฐ ต้องให้การสนับสนุน กระบวนการเรียนรู้และตอบข้อสงสัยแก่ประชาชนผ่านการสื่อสารสองทางอย่างประสิทธิภาพ
      5.  การรักษาความปลอดภัยความต้องการการรักษาความปลอดภัย (security requirements) มี องค์ประกอบ ดังนี้ 
-  ความสามารถในการระบุตัวตนได้ (Authentication) 
-  ความเป็นหนึ่งเดียวของข้อมูล (Integrity) 
-  ความไม่สามารถปฏิเสธได้ (Non-repudiation) 
-  สิทธิส่วนบุคคล (Privacy) 
         สำหรับวิธีการรักษาความปลอดภัยนั้น กระทาได้หลายวิธี เช่น การใช้รหัส (Encryption) ใบรับรอง ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic certificate) และการใช้โปรโตคอล (Protocols) เป็นต้น

ประโยชน์การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ในองค์กร
         1. การสั่งชำระเงินและการรับชาระเงินมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ด้วยระบบ e-Payment ท่านไม่จำเป็นต้องเดินทางไปชำระเงินด้วยวิธีการเดิมๆ อีกต่อไป ท่านสามารถ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลากร และเวลาที่เสียไปจากการเดินทางรวมถึงความ เสี่ยงจากการถือเงินสด เป็นต้น 
         2. เพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารการเงิน เนื่องจากการบริการ E - Pay เป็นการชำระเงินแบบ Online และ Real Time จึงเพิ่มความสะดวกใน กรณีที่ท่านต้องการสั่งชาระเงินเป็นกรณีเร่งด่วนโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางเพื่อไปชำระเงินเหมือนระบบเดิม โดยผู้รับเงินสามารถรับเงินและนำเงินไปบริหารต่อได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน นาที โดยไม่ต้องรอการเคลียร์ ริ่งของธนาคาร ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเงินสดของบริษัทอีกทางหนึ่ง 
       3. ลดความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลการทารายการ ระบบ E - Pay จะดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลมาใช้ เช่น เลขที่บัญชีผู้มีอานาจในการสั่งจ่ายวงเงินในการ สั่งจ่าย เป็นต้น ทาให้ท่านสามารถทางานได้รวดเร็วและลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดพิมพ์เอกสาร ได้ทาให้การดาเนินงานทางด้านบัญชีและการเงินของบริษัทจึงมีความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องมากยิ่งขึ้น 
       4. การยืนยันการตัดบัญชีและการนำเงินเข้าบัญชี ไม่ว่าจะเป็นผู้สั่งชำระเงิน หรือรับชำระเงินก็จะได้รับข้อความยืนยันการตัดบัญชี (Debit Advice) และ ข้อความยืนยันการนำเงินเข้าบัญชี (Credit Advice) จากธนาคารผ่านระบบ E - Payเมื่อรายการชำระเงินเสร็จ สมบูรณ์โดยท่านไม่ต้องสอบถามผลของการทำรายการไปที่ธนาคารโดยตรง 
       5. เสริมสร้างความคล่องตัวในการทำงาน สามารถเลือกใช้บริการกับธนาคารต่างๆ ที่เข้าร่วมให้บริการ หรือเปลี่ยนแปลงไปใช้ธนาคารอื่นใน ภายหลังก็ทาได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องเปลี่ยนโปรแกรมหรือขั้นตอนการทำงานแต่อย่างใด

ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ในประเทศไทย

ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมี 14 ระบบ ดังนี้ 
       1) ระบบโอนเงินรายใหญ่(BAHTNET) เป็นเครือข่ายอีเล็กทรอนิกส์ระหว่างสถาบันการเงินที่สร้างขึ้นโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.
สามารถส่งผ่านข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก โดยเน้นธุรกรรมขนาดใหญ่ผ่านเครือข่าย VPN ที่ เชื่อมอยู่กับ Terminal ที่เคาน์เตอร์ของธนาคารพาณิชย์ โดยเป็นวิธีชำระเงินแบบมีผลทันที (Real Time Gross Settlement ; RTGS) 
        2) ระบบโอนเงินรายย่อย (Media Clearing) เป็นเครือข่ายอีเล็กทรอนิกส์แบบBAHTNET แต่มีธุรกรรมไม่เกิน 500,000 บาทต่อวัน และไม่เป็น RTGS ต้องรอรวบรวมธุรกรรมไว้จนหมดสิ้นวัน จึงส่งข้อมูลเข้าชำระบัญชีระหว่างธนาคารที่ BOT (Batching Process) วันละ 1 ครั้ง ในรูปของไฟล์อีเล็กทรอนิกส์ ผู้รับโอนเงินจะได้รับเงินในวันรุ่งขึ้น
        3) ระบบบัตรเครดิต (Credit Card System) บัตรเครดิตคือบัตรที่ผู้ใช้บัตรได้รับอนุมัติวงเงินจากธนาคารเจ้าของบัตรให้สามารถใช้เงินเพื่อซื้อหาสินค้าจากร้านค้าต่างๆ ที่เป็นสมาชิกกับธนาคาร แล้วจะทำการเรียกเก็บเงินงวดละ 1 เดือน ในปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ บัตรเครดิตของธนาคารในประเทศไทยบัตรเครดิตบริษัทต่างประเทศ เช่น VISA , MasterCard , JCB , AMEX บัตรเครดิตจึงเป็นช่องทางในการรับชำระเงินจากการซื้อขายผ่าน e- Commerce ได้อีกช่องทางหนึ่ง ด้วยข้อดีที่ปลอดภัยดังนี้
        -  ธนาคารผู้ออกบัตรเครดิตจะออกเงินล่วงหน้าแก่ผู้ซื้อ ดังนั้น ถ้าผู้ซื้อไม่ได้รับสินค้า สามารถ ปฏิเสธการจ่ายเงินได้เมื่อถึงรอบบัญชีเรียกเก็บ
       -  ร้านค้าสามารถโต้แย้งข้อพิพาทต่อรายการค้าที่มีปัญหาได้ 6 เดือน และสามารถติดตามตรวจสอบ รายการซื้อขายว่าเกิดขึ้นจริงหรือไม่
      4) ระบบแสดงใบเรียกเก็บเงินและชำระเงิน (eBPP) เป็นระบบการแสดงใบเรียกเก็บเงินหรือใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรที่มีฐานลูกค้าจำนวนมาก  ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกชำระเงินด้วยบัตรเครดิตหรือตัดผ่านบัญชีธนาคารก็ได้ เช่น การให้บริการแจ้งหนี้ค่า โทรศัพท์ ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่รายเดียว เนื่องจากยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายเพราะ ความไม่สะดวกในการทาสัญญาระหว่างลูกค้าผู้ใช้บริการกับเจ้าของบริษัทและการยกเลิกสัญญา
        5) ระบบเช็ค (Electronic Cheque Clearing System ; ECS) การชำระเงินด้วยเช็คจะดำเนินงานภายใต้การดูแลของ Electronic Clearing House ของธนาคาร แห่งประเทศไทยซึ่งได้รับความนิยมสูงมากในการชาระเงินค่าสินค้าในปัจจุบัน ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบธุรกิจ B2B มากกว่า B2C เพราะการเคลียริ่งมีต้นทุน 
        6) ระบบชำระเงินพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce Payment) ปัญหาที่พบ
            ลูกค้าชำระเงินไปแล้วแต่ไม่ได้สินค้า
            ร้านค้าก็มีความเสี่ยงในการทาธุรกรรมเพราะไม่มีลายมือชื่อของผู้ซื้อยืนยันแนวทางการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน
           -  ร้านค้าต่างๆ ควรแสดงนโยบายในการชำระเงินและนโยบายความปลอดภัยให้ชัดเจนบนเว็บไซต์
          -  e-Commerce Service Provider คือผู้ให้บริการด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ควรมีการพัฒนา ระบบความปลอดภัยในการชาระเงินบนอินเทอร์เน็ตขึ้น (Internet Security) และพัฒนาเทคนิคการ ป้องกันความเสี่ยงจากการใช้บัตรเครดิต Secure Socket Layer : SSL มีการพัฒนาใบรับรอง อีเล็กทรอนิกส์ (Digital Certification) การพัฒนาลายมือชื่ออีเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) 
          -  เปิดให้บริการใช้บัญชีของตนเพื่อเรียกเก็บเงินผ่านบัตรเครดิตได้ โดยคิดค่าธรรมเนียม 3-10% เช่น PayPal.com , Escrow.com
       7) ธนาคารอินเทอร์เน็ต (Internet Banking) เป็นการเพิ่มความสะดวกในการชำระเงินแก่ลูกค้าผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตและไม่ต้องใช่สมุดคู่ฝาก เช่น การดูยอดเงินในบัญชี การโอนระหว่างบัญชีออมทรัพย์กับกระแสรายวัน การชำระค่าสาธารณูปโภคผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยระบบหักบัญชีด้วยตนเอง 
       8) ระบบหักบัญชีอัตโนมัติ (Direct Debit / Credit) ระบบ Direct Debit คือระบบที่เจ้าของบัญชีจะอนุญาตให้ธนาคารหักเงินออกจากบัญชีเพื่อชำระ ค่าบริการตามที่ระบุไว้ล่วงหน้าได้ เช่นการชาระค่าสาธารณูปโภค จากหลายๆ บัญชี (Many to One) ระบบ Direct Credit คือระบบที่เจ้าของบัญชีอนุญาตให้ธนาคารหักเงินออกจากบัญชีของตนเข้าสู่ หลายๆบัญชีได้ เช่น การโอนเงินเข้าบัญชีเงินเดือนพนักงาน (One to Many) 
      9) ระบบโอนเงิน EDI (Financial Electronic Data Interchange : FEDI) เป็นมาตรฐานรูปแบบข้อมูลทางการค้าที่ได้รับความนิยมมาก เช่น การส่งใบเสนอราคา คำสั่งซื้อหรือ ใบส่งของ เอกสารนาเข้าสินค้า ส่งออกสินค้า ซึ่งมักทากันในองค์กรขนาดใหญ่ เช่น กรมศุลกากร แต่ต้องมีการ พัฒนาองค์กรกลางในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่เรียกว่า VAN (Value Added Network) ซึ่งภายใต้ข้อตกลงของ กลุ่มประเทศ APEC จะต้องพัฒนา EDI ให้เสร็จสิ้นภายใน 2548 – 2553 
      การชำระเงิน EDI เป็นระบบปิด เป็นเครือข่ายเฉพาะองค์กร (VPN) โดยผู้ให้บริการ (Service Provider) บริการเชื่อมต่อระบบชาระเงิน (Payment Gateway) จึงมีความปลอดภัยสูงกว่าอินเทอร์เน็ต เพราะใช้ระบบ PKI (Public Key Infrastructure) ซึ่งเป็นเทคนิคทางCryptographic ทั้งนี้ผู้โอนเงินและผู้รับโอนจะต้องมี CA รับรองทั้งคู่ก่อน ผู้ให้บริการจึงจะสามารถสร้างรหัสกุญแจลับให้ได้ จากนั้นจึงจะดำเนินการ ส่งข้อความข่าวสารในการโอนเงินผ่านเครือข่ายส่วนบุคคลด้วยระบบ e-Mail ธรรมดา (Simple Mail Transfer Protocol ; SMTP) 
       10) ระบบโอนเงินรายย่อย (Online Retail Fund Transfer : ORFT) ORFT พัฒนาโดยสมาคมธนาคารไทย สามารถโอนเงินผ่านเครื่อง ATM ได้ ภายใต้ข้อจากัดการโอน คือ ครั้งละไม่เกิน 20,000 บาท และวันละไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งมีความปลอดภัยเพราะใช้ผู้ให้บริการ เครือข่ายส่วนบุคคล คือ บ. PCC โดยมีธนาคารกรุงเทพฯ เป็นธนาคารกลางในการรับชำระเงินส่วนต่างระหว่าง 
      11) ระบบบัตรเดบิต (Debit Card : Visa electron) เป็นส่วนผสมระหว่างบัตร ATM กับบัตรเครดิต ต่างกันที่บัตรเดบิตต้องมีเงินสดในธนาคารก่อนจึงจะ ใช้ชำระค่าสินค้าได้ ปัจจุบันวงการพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์ยอมรับการใช้บัตรเดบิตมากขึ้น เพราะปลอดภัย แต่ร้านค้าต้องมีระบบการรับชระเงินจากทุกๆ ธนาคารด้วย จึงทให้มีต้นทุนการดำเนินงานค่อนข้างสูง
      12) ระบบโอนเงินผ่านที่ทาการไปรษณีย์ ที่ทำการไปรษณีย์มีอยู่มากกว่า 1200 แห่งทั่วประเทศ บวกกับที่ทำการไปรษณีย์รับอนุญาตอีกกว่า  900 แห่ง จึงสามารถให้บริการรับชำระเงินได้อย่างกว้างขวาง 
         วิธีการธนาณัติ เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเพราะขึ้นเงินได้ทุกสาขาไปรษณีย์ ซึ่งมีความน่าเชื่อถือ เทียบเท่ากับเช็ค ผู้ที่ถูกระบุชื่อในธนาณัติเท่านั้นจึงจะขึ้นเงินได้ และไม่สามารถเปลี่ยนมือได้จึงเสมือนหนึ่งเป็น เช็คขีดคร่อมเข้าบัญชี 
        การส่งโทรเลขด้วยเครือข่ายไปรษณีย์ (Message-switching Center) เป็นโทรเลขรูปแบบไฟล์ อีเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้ขึ้นเงินแทนธนาณัติ
         Pay at Post อีกมิติหนึ่งของการชำระเงินค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ที่สามารถรับชาระเงินผ่านที่ทาการ ไปรษณีย์ได้ ภายใต้ชื่อบริการ “Pay@Post” โดยรับชำระเงินให้กับลูกค้าของไปรษณีย์ซึ่งจะต้องเปิดบัญชีกับ ธ.กรุงไทย
      13) ระบบโอนเงินระหว่างประเทศด้วยเครือข่าย SWIFT (Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication ; SWIFT)  เป็นคำสั่งโอนเงินผ่านเครือข่ายสากลที่เรียกว่า SWIFT ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มสถาบัน การเงินเพื่อสร้างเครือข่ายการรับส่งข้อมูลทางการเงิน โดยปกติธนาคารพาณิชย์ไทย มักเปิดบัญชีกับธนาคาร ในต่างประเทศอยู่แล้ว เรียกว่า VOSTRO ส่วนใหญ่ VOSTRO คือ ธนาคารซิตี้แบงก์ใน NewYork เพราะ กว้างขวาง ครอบคลุมทั่วโลก
       14) ระบบโอนเงินระหว่างประเทศโดย Western Union เป็นระบบโอนเงินระหว่างประเทศอีกระบบแต่ดำเนินงานโดยบริษัท Western Union Financial Services ในสหรัฐอเมริกา โดยปัจจุบันมีสาขาของ Western Union ไม่ต่ากว่า 117,00 แห่งทั่วโลกวิธีการ คือ ผู้ที่ประสงค์จะชำระเงินค่าสินค้าหรือโอนเงินจากต่างประเทศเข้าประเทศไทยหรือซื้อสินค้า จากต่างประเทศ เพียงนำเงินสดพร้อมค่าธรรมเนียมโอนเงิน ไปที่สาขาของ Western Union กรอก แบบฟอร์มและระบุผู้รับเงินปลายทาง Western Union ในประเทศปลายทางจะทาการติดต่อผู้รับเงินให้ โดยไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีธนาคาร